คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 227
ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแต่ให้การปฏิเสธในชั้นศาลแม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานแต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าส.และหญิงผู้ตายนั่งรถจักรยานสามล้อของจำเลยชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพว่าหลังจากส.ปลุกปล้ำร่วมประเวณีกับผู้ตายแล้วจำเลยได้ขอร่วมประเวณีกับผู้ตายแต่ผู้ตายไม่ยอมได้ดิ้นรนข่วนหน้าจำเลยผลักจำเลยตกน้ำซึ่งปรากฏจากรายงานการตรวจร่างกายที่บริเวณโหนกแก้มซ้ายขวาของจำเลยมีรอยถลอกเป็นขีดยาวๆประมาณ1ซม.-3ซม.10กว่าแผลและได้กางเกงเสื้อของจำเลยเปียกน้ำเปื้อนโคลนหมกอยู่ในบ้านจำเลยเป็นพยานแวดล้อมกรณีหรือพยานพฤติเหตุประกอบคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยศาลฟังได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตาย.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 609, 618 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 57 (2) พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 ม. 8, 22, 28, 29, 30, 48 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 ม. 4 ไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2520 ม. , , , ,
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ดังนี้เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิมส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้นและต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการโจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้ จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักรจำเลยที่1จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่1ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา29ไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141. จำเลยที่2มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่1ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใดถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่2รับไปจำเลยที่2ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 40, 86, 88
ชั้นสืบพยานจำเลยจำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้งจนในนัดสุดท้ายจำเลยแถลงรับรองต่อศาลว่าในนัดต่อไปจำเลยมีพยานมาศาลเท่าใดก็จะสืบเพียงนั้นแต่พอถึงวันนัดจำเลยยังคงไม่มีพยานมาสืบพร้อมกันนี้ทนายจำเลยก็ขอถอนตัวและจำเลยได้ตั้งทนายความใหม่ในโอกาสเดียวกันนี้ทนายจำเลยคนใหม่ก็ได้ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมและขอเลื่อนคดีซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตทั้งสองกรณีเห็นว่าการขอระบุพยานเพิ่มเติมนั้นเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนำสืบพยานเสร็จแล้วเหตุผลในคำร้องของจำเลยไม่เข้าเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคท้ายที่ศาลจะอนุญาตตามคำขอได้เพราะจำเลยย่อมทราบดีแล้วในขณะสืบพยานโจทก์ว่าพยานที่จำเลยขอระบุเพิ่มเติมเป็นผู้รับสำนวนการสอบสวนจากพยานโจทก์ดำเนินการต่อมาจำเลยชอบที่จะขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้เสียแต่ตอนนั้นเมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแต่เพิ่งมายื่นบัญชีขอระบุพยานเพิ่มเติมเอาในนัดสุดท้ายซึ่งจำเลยได้แถลงรับรองต่อศาลแล้วว่าจะไม่ขอเลื่อนคดีอีกจึงเป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นเจตนาที่จะประวิงคดีโดยตรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3431/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 867, 887 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 88
จำเลยยื่นคำขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จเพื่อแสดงว่าเอกสารท้ายฟ้องที่แสดงรายละเอียดของรายการซ่อมรถยนต์ของโจทก์ตลอดถึงราคาว่าซ่อมอะไรราคาเท่าไรนั้นเป็นเอกสารปลอมเมื่อจำเลยได้นำสืบบุคคลอื่นเป็นพยานแล้วว่าราคาตามรายการต่างๆสูงเกินไปและค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์ของโจทก์นี้แม้จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างศาลก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดให้ตามสมควรอยู่แล้วการที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือปลอมจึงไม่เป็นการอ้างพยานหลักฐานเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและไม่จำเป็นต้องสืบพยานที่ขออ้างเพิ่มเติมนั้นศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายการมีเงื่อนไขดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอันจะทำให้จำเลยที่1จะต้องเสี่ยงภัยมากขึ้นม.ลูกจ้างของจำเลยที่2ที่3ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ม.จึงเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายม.ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่1รับประกันไว้จากจำเลยที่2ที่3โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่1จึงไม่เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428 - 3429/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 133, 138, 865
ข้อความจริงตามคำขอเอาประกันชีวิตที่เกี่ยวกับรายได้และความสามารถในการหารายได้ของผู้เอาประกันตลอดจนข้อที่ผู้เอาประกันเคยถูกบริษัทประกันชีวิตอื่นปฏิเสธหรือลดจำนวนเงินขอเอาประกันถือว่าเป็นข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญที่ผู้เอาประกันจะต้องเปิดเผยให้บริษัททราบเพราะอาจจะจูงใจให้บริษัทเรียกเก็บเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาได้เมื่อผู้เอาประกันไม่เปิดเผยข้อความจริงดังกล่าวในเวลาทำสัญญาสัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆียะตามป.พ.พ.มาตรา865และเมื่อบริษัทได้บอกล้างภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้วสัญญาย่อมตกเป็นโมฆะบริษัทไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3427/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 366, 406, 537 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 86, 183, 243, 247
โจทก์ตกลงเช่าห้องอาหารของจำเลยเป็นเวลา1ปีแบ่งชำระค่าเช่าเป็น4งวดโจทก์ได้ชำระค่าเช่างวดแรกให้จำเลยครบถ้วนแล้วคู่กรณีโต้เถียงกันว่าเหตุที่ไม่อาจทำสัญญาเป็นหนังสือกันได้เพราะอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดข้อตกลงดังนี้ฟังได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีนิติสัมพันธ์กันแล้วตามข้อตกลงในเรื่องการเช่าแต่เหตุที่ยังไม่อาจทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรได้เพราะยังคงโต้เถียงกันจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไปหาใช่กรณีเป็นที่สงสัยอันจะเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้ถือว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคสองไม่ทั้งเงินที่จำเลยรับไว้จากโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นลาภมิควรได้เพราะจำเลยรับไว้เป็นค่าเช่างวดแรกตามข้อตกลงจึงไม่ใช่รับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การที่ศาลล่างด่วนตัดพยานทั้งที่คู่กรณียังมีข้อเท็จจริงที่โต้เถียงกันอยู่เช่นนี้เป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 69, 193, 196, 797, 861, 862 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 87, 88, 172, 177, 210
จำเลยที่2เป็นกรรมการจำเลยที่1จำเลยที่2ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นผู้ติดต่อกับต่างประเทศในด้านการทำประกันภัยต่อระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศของจำเลยที่1จำเลยที่2ลงชื่อในสัญญาที่ทำกับโจทก์โดยจำเลยที่1รู้เห็นและไม่ทักท้วงจำเลยที่2จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่1ในการทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เมื่อสัญญาเหล่านั้นเกี่ยวด้วยการรับประกันภัยอันอยู่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่1โจทก์กับจำเลยที่1จึงย่อมมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จำเลยที่2มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารที่อ้างและทนายจำเลยที่1คัดค้านมิให้ศาลรับฟังแต่เมื่อประธานกรรมการจำเลยที่1เบิกความทนายจำเลยที่2ได้ถามพยานเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวพยานเบิกความรับรองศาลชั้นต้นรับเอกสารนี้ไว้และสั่งให้จำเลยที่2เสียค่าอ้างจำเลยที่2ได้เสียค่าอ้างเอกสารแล้วศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ ตามเอกสารท้ายฟ้องมีข้อความว่าโจทก์เป็นผู้ถือบันทึกประกันภัยจำเลยที่1เป็นผู้รับประกันภัยโดยยอมรับส่วนการประกันภัยและยอมให้โจทก์มีอำนาจผูกพันบัญชีของจำเลยที่1และมีอำนาจออกกรมธรรม์ประกันภัยในนามของจำเลยที่1อันเกี่ยวกับการประกันภัยโดยตรงและการประกันภัยโดยทางอ้อมเมื่อได้ความตามฟ้องว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ได้มีการทำสัญญาเกี่ยวกับการรับประกันภัยเกิดขึ้นและมีหนี้ผูกพันเกี่ยวด้วยการปฏิบัติตามสัญญานั้นที่จำเลยที่1ค้างชำระแก่โจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่ปรากฏตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่1ว่าจำเลยที่1ไม่มีสัมพันธ์ใดๆกับโจทก์ดังนั้นจึงไม่มีกรณีที่จำเลยที่1จะยอมเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแม้โจทก์มีความประสงค์เช่นนั้นและปรากฏตามฟ้องว่าก่อนฟ้องโจทก์ทวงถามจำเลยที่1ให้ชำระหนี้แล้วจำเลยที่1ไม่ชำระการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ โจทก์ฟ้องเรียกเงินในส่วนที่จำเลยที่1จะต้องรับผิดต่อโจทก์อ้างความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่1และบริษัทคนกลางมีเอกสารท้ายฟ้องประกอบแสดงรายละเอียดจำนวนเงินที่จำเลยที่1ค้างชำระในแต่ละงวดแต่ละปีรวมเป็นยอดหนี้ทั้งสิ้นและขอให้ศาลบังคับจำเลยที่1ชำระตามยอดเงินตรงกับเอกสารท้ายฟ้องเป็นฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความโดยมิได้อ้างเหตุว่าขาดอายุความกรณีใดบ้างเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในแต่ละประเภทมีกำหนดเวลาต่างกันคำให้การจำเลยที่1จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ในกรณีที่ต้องชำระหนี้กันเป็นเงินตราต่างประเทศศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินตราต่างประเทศหรือมิฉะนั้นให้คิดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินไทยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวไม่มีก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2529
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ม. 7, 19 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55
พระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา7วรรคสองบัญญัติให้เทศบาลเป็นทบวงการเมืองมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและกฎหมายอื่นเทศบาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงที่จะต้องดูแลว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดขาดจากสมาชิกสภาพหรือไม่เทศบาลจึงมีอำนาจหน้าที่ที่จะยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาเทศบาลขาดจากสมาชิกภาพของสภาเทศบาลการยื่นคำร้องไม่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของหน้าที่เทศบาลและเทศบาลมีอำนาจยื่นคำร้องได้เองโดยไม่ต้องให้นายกเทศมนตรีทำการแทนในนามของนายกเทศมนตรี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 577 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
การโอนการประปาบางบัวทองซึ่งเป็นกิจการของจำเลยให้กับการประปานครหลวงเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีการโอนดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับการประปานครหลวงว่าพนักงานที่โอนไปจะได้รับสิทธิต่างๆที่มีอยู่เช่นเดิมและให้มีอายุการปฏิบัติงานติดต่อกันการที่โจทก์แสดงความจำนงขอโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงและจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงนั้นพฤติการณ์เป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างจากการประปาส่วนภูมิภาคเป็นการประปานครหลวงถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46แม้ต่อมาภายหลังการประปานครหลวงจะไม่นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่องให้โจทก์ก็ไม่อาจทำให้การโอนการจ้างดังกล่าวกลับมีผลเป็นการเลิกจ้างไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3419/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1605, 1627, 1629, 1711, 1713, 1718, 1727
โจทก์ที่2เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1629จำเลยซึ่งเป็นบุตรน้องสาวของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ3ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมรดกบางแปลงตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ก็หาใช่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์มรดกไม่แม้ศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้วหากปรากฏในภายหลังว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกโจทก์ที่2ซึ่งพิสูจน์ฟังได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟ้องหรือร้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้และศาลย่อมมีอำนาจที่จะถอดถอนและสั่งตั้งโจทก์ที่2เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยได้ การที่โจทก์ที่2ได้เบิกความชั้นศาลเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมที่โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบอ้างเป็นพยานในศาลนั้นเป็นพินัยกรรมอันแท้จริงของเจ้ามรดกและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมปลอมก็ตามแต่โจทก์ที่2มิได้เป็นผู้ปลอมหรือใช้หรืออ้างพินัยกรรมปลอมนั้นจึงไม่ถือว่าโจทก์ที่2ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้ได้มรดก การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโจทก์เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผุ้จัดการมรดกเท่านั้นการที่ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718ไม่จำต้องเป็นบรรยายบทบังคับให้ศาลจำต้องปฏิบัติไว้ในฟ้องด้วย.