คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307 - 5308/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1745 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142 (2)
แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อผ. เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2แล้วก็ตามแต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทเหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนองจึงถือว่าจำเลยที่1และที่2ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเมื่อจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ซึ่งเป็นทายาทของศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ให้แก่โจทก์ได้แต่สำหรับจำเลยที่1ถึงที่3และที่6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่1ถึงที่3และที่6 ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผ.มี8คนคือจำเลยทั้งแปดที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น8ส่วนจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ได้คนละ1ส่วนจึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท4ส่วนใน8ส่วนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 421, 1304 (3)
ทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะแต่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)และอยู่ในโฉนดที่ดินของจำเลยที่1การที่จำเลยที่4ซึ่งเป็นผู้ครอบครองดูแลที่ดินแทนจำเลยที่3ปิดกั้นทางพิพาทบริเวณที่เชื่อมกับถนนสายบางกอกน้อยตลิ่งชัน และทำรั้วลวดหนามล้อมที่ดินด้านที่มีแนวเขตติดต่อกับที่ดินของโจทก์ที่1ที่2และที่3เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ราชการจึงเป็นการกระทำโดยชอบแม้จะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามไม่สามารถใช้ทางพิพาทได้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นอันจะฟังว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4486/2539
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ม. 4, 9
แผนที่ทางหลวงเป็นเอกสารราชการของกรมทางหลวงโจทก์ได้ขออนุมัติกรมทางหลวงเพื่อจัดพิมพ์โดยโจทก์ได้นำแผนที่ของกรมทางหลวงมาปรับปรุงเพิ่มเติมให้สวยงานเมื่อความเหมาะสมในการใช้แต่โจทก์มิได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอันเป็นสาระสำคัญจากแผนที่เดิมแต่อย่างใดสำหรับสัญลักษณ์ต่างๆรวมทั้งรูปแบบเข็มทิศและเส้นมาตราส่วนตลอดจนแผนภูมิระยะทางระหว่างจังหวัดในแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยก็เป็นสัญลักษณ์สากลและใช้กันทั่วไปในแผนที่ต่างๆซึ่งบุคคลทั่วไปก็ย่อมมีสิทธิใช้ได้งานที่โจทก์ทำจึงเป็นการปรับปรุงเล็กน้อยโดยลอกเลียนมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วและใช้กันทั่วไปโจทก์ไม่ใช่ผู้คิดค้นหรือสร้างสรรค์ขึ้นโดยความคิดริเริ่มของโจทก์เองจึงไม่มีลิขสิทธิ์ในสัญลักษณ์แผนภูมิระยะทางรูปเข็มทิศและมาตราส่วนในแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยการที่โจทก์เพียงแต่ได้นำแผนที่ของกรมทางหลวงมาแบ่งส่วนใหม่รวมเป็นรูปเล่มและให้สีเท่านั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ปรับปรับแก้ไขเพิ่มเติมแผนที่ทางหลวงของกรมทางหลวงในสาระสำคัญถึงขนาดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อันจะพอถือได้ว่าเป็นการดัดแปลงโจทก์จึงไม่ได้ลิขสิทธิ์ในรูปแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2521มาตรา9ประกอบมาตรา4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 129, 150 วรรคสาม
จำเลยได้ทำร้ายผู้ตายหลังจากนั้นจำเลยจึงไปแจ้งความว่าผู้ตายบุกรุกเจ้าพนักงานตำรวจนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลและต่อมาถึงแก่ความตายพนักงานสอบสวนจึงร่วมกับแพทย์ชันสูตรพลิกศพผู้ตายไว้โดยที่ขณะผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายนั้นผู้ตายมิได้เป็นผู้ต้องหาในข้อหาบุกรุกและมิได้อยู่ในความควบคุมตัวของเจ้าพนักงานแต่อย่างใดแม้ผู้ตายจะถึงแก่ความตายในระหว่างที่เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลก็ไม่ใช่กรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่จึงไม่ใช่กรณีที่ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา150วรรคสามเมื่อพนักงานสอบสวนและแพทย์ทำการชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมี อำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 222
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่าการที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าไม้สักแปรรูปแก่โจทก์ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันจะพึงได้รับอีกวันละ10,000บาทเป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นถึงพฤติการณ์พิเศษที่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์ดังกล่าวแต่อย่างใดคงนำสืบแต่เพียงว่าเหตุที่โจทก์เรียกค่าเสียหายวันละ10,000บาทเพราะไม้สักแปรรูปเป็นไม้ราคาแพงจำเลยนำออกขายตามท้องตลาดได้ถึงคิวบิกเมตรละ30,000บาทเศษเท่านั้นซึ่งหาใช่ความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1745 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142 (2)
แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อ ผ.เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาท เหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนอง จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคน เมื่อจำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8ซึ่งเป็นทายาทของ ศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์ โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ให้แก่โจทก์ได้ แต่สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์ จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 6
ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ.มี 8 คนคือจำเลยทั้งแปด ที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น 8 ส่วน จำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ได้คนละ 1 ส่วน จึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท 4 ส่วนใน 8 ส่วนให้แก่โจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5306/2539
พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ม. 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง
อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ชนิดประกอบขึ้นเองจำเลยน่าที่จะทราบดีมาตั้งแต่ต้นว่าของกลางที่ณ.ที่มาฝากเป็นของผิดกฎหมายแต่จำเลยก็ยังคงยินดีรับฝากโดยยอมให้นำมาเก็บในกระเป๋าเสื้อผ้าของตนทั้งยังนั่งรถยนต์แท็กซี่ออกจากโรงงานไปพร้อมกันแม้กระทั่งก่อนที่จะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเพียงเล็กน้อยเจ้าพนักงานตำรวจก็ยังเห็นจำเลยและณ.ใช้มือจับกระเป๋าเสื้อผ้าของจำเลยคนละข้างพฤติการณ์ของจำเลยและณ.ดังที่ได้กล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งจำเลยและณ.ต่างมีเจตนายึดถือครอบครองกระเป๋าเสื้อผ้าของจำเลยรวมทั้งอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางที่อยู่ในกระเป๋าเสื้อผ้ามาด้วยกันตั้งแต่เริ่มขึ้นรถยนต์แท็กซี่มาด้วยกันตลอดมาจนกระทั่งถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำการจับกุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5301/2539
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 ม. 12, 19, 66 (2) พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 21
วัตถุประสงค์พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯพ.ศ.2516ก็เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างทางและปรับปรุงระบบระบายน้ำสำหรับกรุงเทพมหานครจำเลยที่1มีหน้าที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการทำให้มีและการบำรุงรักษาทางบกทางน้ำและทางระบายน้ำโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้แทนซึ่งมีอำนาจหน้าที่บริหารราชการทั้งปวงของจำเลยที่1การดำเนินการของจำเลยที่2ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติเวนคืนฯดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกิจการของจำเลยที่1โจทก์ในฐานะผู้ถูกเวนคืนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ได้ การที่จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการกำหนดค่าทดแทนภายในเวลาอันสมควรแก่โจทก์ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า20ปีเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ดังนั้นการที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่ง(1)ถึง(4)โดยเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ในปีที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ฯพ.ศ.2511อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ต้องใช้วันที่เดิมฐานที่ตั้งสำหรับราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนจากวันใช้พระราชกฤษฎีกาเป็นปีที่2531อันเป็นปีที่มีการเริ่มดำเนินการเพื่อจ่ายค่าทดแทนใหม่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองและวรรคสามเป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์และในวรรคนี้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้นเพื่อนำมาหักออกจากเงินค่าทดแทนให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแม้ขณะเวนคืนที่ดินของโจทก์ถึงศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกมาใช้บังคับก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้ฉะนั้นเมื่อปรากฎว่าที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วก็ย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2539
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ม. 33 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 21
การเวนคืนทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้น ดังนั้นจึงต้องเป็นไปตามหลักการเบื้องต้นที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ กล่าวคือ จะต้องเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าวเมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามที่มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติไว้ออกใช้บังคับก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือมาตราการที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ถูกเวนคืนและสังคมเป็นส่วนรวมมาใช้ก่อน หาใช่จะต้องแปลความว่าเมื่อไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้ว จะมิต้องคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนเสียเลย และไม่ต้องนำมาหักออกจากค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ ทั้งนี้ เพราะจะทำให้มาตรา 21 วรรคสอง อันเป็นหลักการเบื้องต้นไม่มีผลใช้บังคับ อันมิใช่เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ จึงมีอำนาจคำนวณราคาที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์ว่ามีราคาสูงขึ้นและนำมาหักกับค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายแก่โจทก์ได้
ได้มีพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะประกาศใช้มีผลให้ที่ดินของโจทก์จะต้องถูกเวนคืน การที่โจทก์จะได้รับชดใช้ค่าทดแทนหรือไม่เพียงใดย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมาย เมื่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสอง กำหนดให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนมาหักออกจากค่าทดแทนได้ แต่ไม่ให้ถือว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีขึ้นนั้นสูงไปกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนเพื่อจะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายกลับต้องใช้เงินให้อีก เช่นนี้ เมื่อราคาที่สูงขึ้นนั้นมีจำนวนมากกว่าค่าทดแทนในกรณีของโจทก์ โจทก์ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มให้แก่รัฐ แต่โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากรัฐโดยนัยของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน การที่โจทก์ถูกเวนคืนโดยไม่ได้รับค่าทดแทนจึงเป็นไปตามบทกฎหมายและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 33 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2539
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 21 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสี่ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ลงวันที่28กุมภาพันธ์2534บัญญัติว่าในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24ทั้งนี้ในข้อ5ของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวบัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา9วรรคสี่ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมนั้นให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวใช้บังคับด้วยจากบทบัญญัติดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าเมื่อคดีของโจทก์ยังไม่เสร็จเด็ดขาดการกำหนดค่าทดแทนจึงต้องพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ทั้ง5ประการของมาตรา21มิใช่เพียงข้อหนึ่งข้อใด กรณีที่การเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นต้องบังคับตามหลักการเบื้องต้นที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองบัญญัติไว้กล่าวคือจะต้องเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าวเมื่อขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามที่มาตรา21วรรคสี่บัญญัติไว้ออกใช้บังคับก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือมาตรการที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเป็นส่วนรวมมาใช้ก่อนหาใช่จะต้องแปลความว่าเมื่อไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วจะมิต้องคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและไม่ต้องนำมาหักออกจากค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ส่วนที่มาตรา5แห่งพระราชกฤษฎีกาแห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นฯดังกล่าวบัญญัติว่าหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นไม่ใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนที่พระราชกฤษฎีกาจะมีผลบังคับนั้นก็เป็นเพียงทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับเท่านั้นมิใช่เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามไม่มีอำนาจคำนวณราคาที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์ว่ามีราคาสูงขึ้นและนำมาหักกับค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายแก่โจทก์