คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5314

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5314/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1400

ที่ดินของจำเลยมีที่ดินของโจทก์เป็นทางภารจำยอมอยู่แล้วแม้จะมีทางออกทางอื่นโดยมีถนนสาธารณะตัดผ่านที่ดินของจำเลยก็หาทำให้ทางภารจำยอมในที่ดินของโจทก์ที่มีอยู่แล้วสิ้นไปไม่กรณียังมิใช่เป็นเรื่องภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1400

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 33 (1) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ม. 134 วรรคหนึ่ง

รถจักรยานยนต์ซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจรเป็นทรัพย์สินซึ่งใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งให้ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 33 (1) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ม. 134 วรรคหนึ่ง

รถจักรยานยนต์ซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเป็นทรัพย์สินซึ่งใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งให้ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 159, 560 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 183 วรรคสอง

หนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทไม่มีข้อความตอนใดเขียนไว้เลยว่าให้สิทธิแก่จำเลยที่1ในอันที่จะเรียกร้องเอาที่ดินคืนจากโจทก์คนใดได้ทั้งพฤติการณ์ตามที่จำเลยที่1เบิกความมาอาจปรับได้กับลักษณะขายฝากหรือคำมั่นว่าจะขายคืนให้ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจำเลยที่1ก็ชอบที่จะบังคับเอาแก่โจทก์ที่3ได้แต่ทางนำสืบที่จำเลยที่1เบิกความมาไม่มีสัญญาขายฝากหรือหลักฐานใดๆที่จำเลยที่1จะเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทคืนจากฝ่ายโจทก์ได้เลยที่จำเลยที่1อ้างว่าโจทก์ที่3หลอกนั้นก็มีแต่คำเบิกความของจำเลยที่1ส่วนคำเบิกความของพยานจำเลยนั้นแม้จะได้ความว่าพยานดังกล่าวจะตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ที่3เช่นเดียวกับจำเลยที่1มาก่อนก็ตามก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าพยานจำเลยอยู่ในฐานะถูกหลอกเช่นเดียวกับจำเลยที่1พฤติการณ์คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่1และพยานจำเลยทุกปากอยู่ในฐานะถูกเอาเปรียบจากโจทก์ที่3ที่มีกฎหมายเป็นฐานรองรับเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทแล้วผิดนัดชำระค่าเช่าจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทใช้ทำไร่ไม่เคยเช่าจากโจทก์ในชั้นสืบพยานคู่ความนำสืบรับกันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ใช้ทำไร่แม้ในคำฟ้องและคำให้การจะกล่าวอ้างพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวคงใช้บังคับสำหรับการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเท่านั้นส่วนการเช่าที่ดินเพื่อการทำไร่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับแต่อย่างใดที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในปัญหาดังกล่าวกับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2หยิบยกพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5308

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307 - 5308/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1745 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142 (2)

แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อผ. เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2แล้วก็ตามแต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทเหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนองจึงถือว่าจำเลยที่1และที่2ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเมื่อจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ซึ่งเป็นทายาทของศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ให้แก่โจทก์ได้แต่สำหรับจำเลยที่1ถึงที่3และที่6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่1ถึงที่3และที่6 ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผ.มี8คนคือจำเลยทั้งแปดที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น8ส่วนจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ได้คนละ1ส่วนจึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท4ส่วนใน8ส่วนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 421, 1304 (3)

ทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะแต่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)และอยู่ในโฉนดที่ดินของจำเลยที่1การที่จำเลยที่4ซึ่งเป็นผู้ครอบครองดูแลที่ดินแทนจำเลยที่3ปิดกั้นทางพิพาทบริเวณที่เชื่อมกับถนนสายบางกอกน้อยตลิ่งชัน และทำรั้วลวดหนามล้อมที่ดินด้านที่มีแนวเขตติดต่อกับที่ดินของโจทก์ที่1ที่2และที่3เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ราชการจึงเป็นการกระทำโดยชอบแม้จะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามไม่สามารถใช้ทางพิพาทได้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นอันจะฟังว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4486

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4486/2539

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ม. 4, 9

แผนที่ทางหลวงเป็นเอกสารราชการของกรมทางหลวงโจทก์ได้ขออนุมัติกรมทางหลวงเพื่อจัดพิมพ์โดยโจทก์ได้นำแผนที่ของกรมทางหลวงมาปรับปรุงเพิ่มเติมให้สวยงานเมื่อความเหมาะสมในการใช้แต่โจทก์มิได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอันเป็นสาระสำคัญจากแผนที่เดิมแต่อย่างใดสำหรับสัญลักษณ์ต่างๆรวมทั้งรูปแบบเข็มทิศและเส้นมาตราส่วนตลอดจนแผนภูมิระยะทางระหว่างจังหวัดในแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยก็เป็นสัญลักษณ์สากลและใช้กันทั่วไปในแผนที่ต่างๆซึ่งบุคคลทั่วไปก็ย่อมมีสิทธิใช้ได้งานที่โจทก์ทำจึงเป็นการปรับปรุงเล็กน้อยโดยลอกเลียนมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วและใช้กันทั่วไปโจทก์ไม่ใช่ผู้คิดค้นหรือสร้างสรรค์ขึ้นโดยความคิดริเริ่มของโจทก์เองจึงไม่มีลิขสิทธิ์ในสัญลักษณ์แผนภูมิระยะทางรูปเข็มทิศและมาตราส่วนในแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยการที่โจทก์เพียงแต่ได้นำแผนที่ของกรมทางหลวงมาแบ่งส่วนใหม่รวมเป็นรูปเล่มและให้สีเท่านั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ปรับปรับแก้ไขเพิ่มเติมแผนที่ทางหลวงของกรมทางหลวงในสาระสำคัญถึงขนาดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อันจะพอถือได้ว่าเป็นการดัดแปลงโจทก์จึงไม่ได้ลิขสิทธิ์ในรูปแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2521มาตรา9ประกอบมาตรา4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 129, 150 วรรคสาม

จำเลยได้ทำร้ายผู้ตายหลังจากนั้นจำเลยจึงไปแจ้งความว่าผู้ตายบุกรุกเจ้าพนักงานตำรวจนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลและต่อมาถึงแก่ความตายพนักงานสอบสวนจึงร่วมกับแพทย์ชันสูตรพลิกศพผู้ตายไว้โดยที่ขณะผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายนั้นผู้ตายมิได้เป็นผู้ต้องหาในข้อหาบุกรุกและมิได้อยู่ในความควบคุมตัวของเจ้าพนักงานแต่อย่างใดแม้ผู้ตายจะถึงแก่ความตายในระหว่างที่เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลก็ไม่ใช่กรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่จึงไม่ใช่กรณีที่ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา150วรรคสามเมื่อพนักงานสอบสวนและแพทย์ทำการชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมี อำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 222

โจทก์อ้างในคำฟ้องว่าการที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าไม้สักแปรรูปแก่โจทก์ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันจะพึงได้รับอีกวันละ10,000บาทเป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นถึงพฤติการณ์พิเศษที่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์ดังกล่าวแต่อย่างใดคงนำสืบแต่เพียงว่าเหตุที่โจทก์เรียกค่าเสียหายวันละ10,000บาทเพราะไม้สักแปรรูปเป็นไม้ราคาแพงจำเลยนำออกขายตามท้องตลาดได้ถึงคิวบิกเมตรละ30,000บาทเศษเท่านั้นซึ่งหาใช่ความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1745 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142 (2)

แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อ ผ.เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาท เหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนอง จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคน เมื่อจำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8ซึ่งเป็นทายาทของ ศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์ โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ให้แก่โจทก์ได้ แต่สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์ จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 6

ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ.มี 8 คนคือจำเลยทั้งแปด ที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น 8 ส่วน จำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ได้คนละ 1 ส่วน จึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท 4 ส่วนใน 8 ส่วนให้แก่โจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (2)

« »
ติดต่อเราทาง LINE