คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 296
ตามคำร้องของจำเลยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 วรรคสองเพียงแต่กล่าวอ้างว่าโจทก์กับผู้ซื้อทรัพย์ร่วมกันเข้าสู้ราคาโดยไม่สุจริต สมคบกันกดราคาซื้ออันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้จำเลยเสียหายเท่านั้น ซึ่งมิได้เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำสั่งของจำเลยเสียได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 172, 587, 591 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55
จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเข้าซ่อมแซมอาคารที่ชำรุด เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามที่โจทก์เรียกร้อง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172เดิม อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเสร็จและส่งมอบให้โจทก์แล้วโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยที่ 1 ทำชำรุดบกพร่อง หาใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารไม่เสร็จแล้วโจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาก่อน
จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงินไม่เกิน 84,400 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนในทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนดังนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย ส่วนข้อตกลงเรื่องการเรียกหลักประกันใหม่ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์
จำเลยร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ.มาตรา1077 ประกอบมาตรา 1087 แต่ตามคำขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โจทก์ขอให้ร่วมรับผิดเพียงในยอดเงินที่หักเงิน 84,400 บาท ที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือค้ำประกันออก ดังนี้ต้องนำเงิน 84,400 บาท หักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมดก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8056/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 144, 157, 176 วรรคแรก, 368
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทโดยเข้าใจว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 615 แม้จำเลยจะสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ของอาคารพิพาทพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 ให้โจทก์ได้หรือไม่ก็ตาม แต่โดยที่อาคารดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 615 ตามกฎหมายด้วย เมื่อตีความสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวของโจทก์และจำเลยโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตแล้ว ต้องถือว่าไม่อยู่ในความประสงค์ของโจทก์ที่จะเข้าทำสัญญาดังกล่าวโดยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อทั้งหมดได้ ต้องถือว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทกับจำเลยโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับเป็นการบอกเลิกโมฆียะกรรมและต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ย แต่ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดระหว่างกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8041/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 537 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 84, 183 ประมวลรัษฎากร ม. 118
ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เช่า เพียงมีสิทธินำทรัพย์สินดังกล่าวออกให้เช่าก็สามารถเป็นผู้ให้เช่าได้ ดังนี้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารสำนักงานที่เช่าและในทางนำสืบของโจทก์กลับปรากฏว่า โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าจากพ. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงและโจทก์มีสิทธินำอาคารสำนักงานดังกล่าวออกให้เช่าช่วงได้ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว จำเลยต้องผูกพันตามข้อสัญญาที่ทำไว้ การที่จำเลยไม่ยอมวางเงินประกันและชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากอาคารสำนักงานที่เช่า กับให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายเป็นรายวันตามสัญญาเช่าได้ กรณีถือได้ว่าโจทก์นำสืบได้สมฟ้องและตรงตามประเด็นแล้ว โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ตามสำเนาสัญญาเช่าท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยให้การยอมรับว่าจำเลยทำสัญญาเช่าดังกล่าวกับโจทก์จริง เพียงแต่อ้างว่าสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาให้อาศัยโดยไม่ต้อง เสียค่าเช่าซึ่งเป็นนิติกรรมที่แท้จริงเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงไม่จำต้องใช้สัญญาเช่าดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แม้สัญญาเช่นฉบับดังกล่าวจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังสัญญาเช่านั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2540
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 68, 80, 91, 288
แม้ว่าโจทก์ร่วมที่ 1 จะใช้แขนรัดคอจำเลย แต่ก็ไม่ปรากฏว่า โจทก์ร่วมที่ 1 มีอาวุธใด ๆ ที่จะใช้ทำร้ายจำเลย การที่จำเลยบอกให้โจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งใช้แขนรัดคอปล่อยตัวจำเลยแต่โจทก์ที่ 1 ไม่ยอมปล่อย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมที่ 1 หลายนัด โดยโจทก์ร่วมที่ 1 ไม่มีอาวุธใด ๆที่จะใช้ทำร้ายจำเลยได้นั้น จำเลยจะอ้างว่าเป็นการยิงเพื่อป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมทั้งสองโดยเจตนาฆ่าและจำเลยลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำดังกล่าวไม่บรรลุผล เพียงแต่ทำให้โจทก์ร่วมทั้งสองได้รับอันตรายสาหัสและการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมทั้งสอง การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมที่ 1 เพื่อให้โจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งใช้แขนรัดคอปล่อยจำเลย และยิง โจทก์ร่วมที่ 2 โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมที่ 2 ถือมีดจะเข้ามาแทง จำเลยเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อบุคคลต่างคนกัน และเป็นคนละขั้นตอน มิใช่เป็นการยิงในคราวเดียวต่อเนื่องกัน จึงเป็นความผิดคนละกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8033/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 240, 1476 (เดิม), 1480 (เดิม)
การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนสินสมรสโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือ10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าช่วงเวลานับแต่วันที่เจ้ามรดกซึ่งเป็นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งโอนที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์ให้แก่ฝ่ายจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวล่วงพ้นกำหนด10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสดังที่โจทก์กล่าวอ้างสภาพแห่งการเป็นสินสมรสของที่ดินพิพาทย่อมหมดสิ้นไปนับแต่เจ้ามรดกซึ่งเป็นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมโอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวที่ดินพิพาทไม่อาจกลับคืนสภาพมาเป็นสินสมรสอันเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1055 (3), 1061 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55
จำเลยที่ 1 จ่ายเงินส่วนแบ่งให้แก่โจทก์ไม่ครบตามสิทธิในส่วนจำนวนค่าหุ้นที่โจทก์ยังมีอยู่ เมื่อหุ้นส่วนมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการที่จะนำเอาที่ดินที่ซื้อมาขายเอากำไรแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อมีการขายที่ดินที่จัดซื้อไปแล้วหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวย่อมเลิกกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1055 (3) กรณีมีเหตุที่จะให้โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ในฐานเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 2 ผู้ดำเนินการให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนำเงินที่ขายได้มาแบ่งให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1061 ได้บัญญัติถึงกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงกันได้ในเรื่องการชำระบัญชี กฎหมายจึงได้บัญญัติให้มีการตกลงกันดังกล่าว
โจทก์ขอให้จำเลยทำการชำระบัญชี เนื่องจากได้มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วนเสร็จสิ้นกันไปแล้ว ห้างหุ้นส่วนจึงเป็นอันเลิกกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1055 (3) เมื่อโจทก์ขอให้ชำระบัญชีจำเลยไม่ยอมชำระบัญชี แสดงว่าหุ้นส่วนไม่สามารถตกลงกันได้อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาสู่ศาลขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีต่อไปได้ อันเป็นกรณีที่โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาล มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องให้หุ้นส่วนร่วมกันจัดตั้งผู้ชำระบัญชีโดยคะแนนเสียงข้างมากเสนอไป
ในกรณีที่จะต้องแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีโดยคำสั่งของศาลแล้วศาลย่อมมีอำนาจที่จะแต่งตั้งตัวผู้ชำระบัญชีโดยมีคำสั่งแต่งตั้งได้เองตามที่เห็นสมควรแม้คู่กรณีจะเสนอผู้ใดมาโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อศาลเห็นว่าเป็นบุคคลที่ไม่สมควรที่จะได้รับการแต่งตั้ง ศาลอาจแต่งตั้งบุคคลอื่นได้ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีนั้น ศาลฎีกาสมควรกล่าวไว้เสียให้ชัดแจ้งว่าจะต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สมัครใจจะเป็นผู้ชำระบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 227
ผู้เสียหายถูกทำร้ายอยู่เป็นเวลาประมาณ5ถึง10นาทีผู้เสียหายรู้จักจำเลยทั้งสามและพวกมาก่อนในบริเวณที่เกิดเหตุมีแสงไฟฟ้าสว่างผู้เสียหายย่อมจะเห็นคนร้ายได้ชัดเจนผู้เสียหายมีบาดแผลที่ศีรษะไหล่และที่หลังตรงตามที่ผู้เสียหายเบิกความว่าถูกฟันส่วนน. พยานโจทก์อีกปากหนึ่งแม้ไม่ได้เบิกความว่าจำเลยคนใดมีอาวุธแต่ก็ยังยืนยันว่าจำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายและตามคำให้การชั้นสอบสวนจำเลยที่1รับว่าใช้มีดฟันผู้เสียหายส่วนจำเลยที่2รับว่าเข้าไปชกผู้เสียหายนอกจากนี้มารดาจำเลยที่1และบิดาจำเลยที่2และที่3ทำบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยรับว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายพยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540
ประมวลรัษฎากร ม. 86 วรรคหนึ่ง, 87, 90 (15), 90/2 (3) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2534 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2534 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 195
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าฐานภาษีจากยอดขายในเดือนกรกฎาคมสิงหาคมกันยายนและธันวาคม2536เกินกว่าเดือนละ100,000บาทจำเลยจึงเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งเดือนใดถึง100,000บาทถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534ข้อ1วรรคสองที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทตามประกาศดังกล่าวข้อ2และสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทในหนึ่งวันทำการตามประกาศดังกล่าวข้อ3จำเลยจึงมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้งและต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้เกิดขึ้นพร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งหากไม่กระทำย่อมมีความผิดและได้รับโทษตามมาตรา90/2(3)การที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ1ฉบับโดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า"ขายปลีกรายย่อยครั้งละไม่เกิน500บาทรวมทั้งวัน"มีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น3,557บาทแสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่งๆมารวมยอดเงินแล้วออกใบกำกับภาษีเพียง1ฉบับต่อวันจึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งและไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้นจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา90/2(3)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534ข้อ6(3)ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลังโดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้นๆซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไปจะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกันดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา87และ90(15)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534 ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างที่อธิบดีกรมสรรพากรกำลังพิจารณาหนังสือของจำเลยต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามวิธีการของมาตรา34แห่งประมวลรัษฎากรก็ดีจำเลยไมได้ทราบถึงผลการพิจารณาประเด็นต่างๆที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่าตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยนั้นจึงต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามประมวลรัษฎากรมาตรา14,15,16,17,18,20,22และ27ทวิก็ดีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ได้ทำการขูดลบแก้ไขเอกสารก็ดีล้วนเป็นข้อที่ไม่เป็นประเด็นโดยตรงกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดอาญาเป็นคดีนี้และไม่เป็นสาระแก่คดีศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8048/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 192 วรรคสอง, 222, 383, 438, 570 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงชำระค่าธรรมเนียมปีละ 65,000 บาท ให้แก่โจทก์ ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมรายปีดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมรายปี แก่โจทก์จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 สัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า เมื่อกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาสิ้นสุดลงจำเลยยังมีเวลารื้อถอนและส่งมอบทรัพย์ที่เช่าต่อไปอีก 30 วัน ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยภายใน35 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดที่จำเลยมีสิทธิส่งทรัพย์ที่เช่าคืนว่าจะไม่ให้จำเลยทำสัญญาเช่าต่อไปนับได้ว่าเป็นเวลาอันสมควรและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์มิได้นิ่งเฉย หรือไม่ทักท้วงที่จำเลยยังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าอยู่ภายหลังสัญญาเช่าสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 โจทก์จึงมีสิทธิ เรียกค่าเสียหายได้เริ่มแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเป็นต้นไปและสิ้นสุดก่อนวันที่จำเลยส่งมอบทรัพย์ที่เช่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่า คืนภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรหรืองดเว้นกระทำการอันหนึ่งใดที่ ตกลงไว้ และต้องใช้เบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่โจทก์ ได้มีหนังสือขยายเวลาให้จำเลยรื้อถอนป้ายโฆษณาและส่งมอบทรัพย์ ที่เช่าคืนภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ อันถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เมื่อจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2535 จำเลยจึงมีสิทธิรื้อถอนส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืนโจทก์ได้จนถึง ภายในวันที่ 24 เมษายน 2536 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยในช่วงเวลาดังกล่าว คงเรียกได้แต่เพียงค่าเสียหายปกติ คือค่าเช่าในอัตราและเงื่อนไขเดิมส่วนค่าเสียหายที่เป็นเบี้ยปรับนับแต่วันที่ 25 เมษายน 2536นั้น โจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามที่ตกลงไว้ได้ซึ่งถ้าเบี้ยปรับอันมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดก้นไว้ล่วงหน้านั้นสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้และเมื่อศาลกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 2,000 บาทอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน