คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2543

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796 - 797/2543

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 227

พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมยึดเมทแอมเฟตามีนจากสายลับและยึดธนบัตรจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายเมทแอมเฟตามีนให้สายลับผู้ล่อซื้อ พยานโจทก์มิได้รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะที่มีการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนแต่ที่ทราบว่าจำเลยที่ 2 ร่วมขายด้วยก็เนื่องจากสายลับเป็นผู้บอกโจทก์มิได้นำสายลับมาเบิกความ คำเบิกความของพยานโจทก์จึงเป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย ประกอบกับคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยที่ 2 เป็นพยานบอกเล่าซึ่งไม่มีรายละเอียดใด ๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ที่ให้การว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชวนจำเลยที่ 1 ไปเอาเมทแอมเฟตามีนมาขายเป็นพยานบอกเล่าซึ่งมีลักษณะเป็นคำซัดทอดในระหว่างผู้ต้องหาด้วยกัน พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2543

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 54

คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่าโจทก์คดีนี้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนาจึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ เมื่อ ฉ. และ ธ. โอนขายที่ดินพิพาทที่ได้รับโอนมาให้แก่ผู้ร้องสอด (จำเลยที่ 13) ผู้ร้องสอด ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าว คดีถึงที่สุด ดังนั้น คำพิพากษาในคดีดังกล่าวที่วินิจฉัยว่าโจทก์เช่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ทำนาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 13 ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดี ดังกล่าวย่อมต้องผูกพันด้วย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า โจทก์เช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนา การที่ น. และ ย. โอนขาย ที่ดินพิพาทที่ได้รับโอนมาจากเจ้าของเดิมให้แก่ ฉ. และ ธ. ต่อมา ฉ. และ ธ. โอนขายที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 13 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 13 ในคดีนี้ขอซื้อที่ดินพิพาทโดยอ้างสิทธิในฐานะผู้เช่าที่นา ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2543

nan

++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ++

++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++

++

++

++ โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ฎีกา

++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่นำสืบโดยมิได้โต้เถียงกันว่า

++ โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่32941, 32942, 32944 และ 89930 ตำบลสวนหลวง (ที่ 8 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 316 ตารางวา พร้อมด้วยอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์สูง 7 ชั้น 1 หลัง ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าว โดยมีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้บริหารกิจการให้เช่าพักอาศัย

++ ที่ดินของโจทก์ที่ 1โฉนดเลขที่ 32942 เนื้อที่ 15 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตและลานคอนกรีตบางส่วน ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้ และไม้ยืนต้นอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวางเขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 4 ตุลาคม 2533

++ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 10 ตารางวา ตารางวาละ40,000 บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตบางส่วนเป็นเงิน58,864.52 บาท ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิและกระถางต้นไม้ 37,768.41บาท และไม้ยืนต้น 850 บาท ตามเอกสารหมาย ล.5 และ ล.6 โจทก์ที่ 1ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ และแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ทราบเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม2537 ตามเอกสารหมาย จ.10

++ โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 4 ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 120,000 บาท ค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสี่แปลงอันมีราคาลดลงตารางวาละ 30,000 บาท ค่าทดแทนรายได้ค่าเช่าอพาร์ตเมนต์ 126 ห้อง ที่ต้องลดค่าเช่าลงห้องละ 2,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน 15,120,000 บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างเพิ่มอีก 95,717.07 บาท ตามสำเนาอุทธรณ์เอกสารหมายจ.12 แต่จำเลยที่ 4 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์

++

++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม และโจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนหรือไม่

++

++ ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ 2,000 บาท นั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 ตารางวาละ 110,000 บาทแล้ว ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ 2,000 บาท ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

++ ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้บริหารงานอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนครั้งนี้

++ การที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาแต่เพียงขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองโดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ฎีกาของโจทก์ที่ 2จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

++

++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่

++ เห็นว่า ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่32942 ของโจทก์ที่ 1 ที่อยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนงกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 นั้นไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 ต้องกำหนดโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา21 (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทน โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโฉนดเลขที่ 32942 ของโจทก์ที่ 1 ตามที่เป็นอยู่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ด้วย

++ นายกลยุทธ มณฑาศวิน ซึ่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และเป็นพยานจำเลยทั้งสี่เบิกความว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ นำราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน เป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 แม้นางสาวณัฐนรี คงจันทร์ ซึ่งเคยรับราชการเป็นหัวหน้างานการประเมินราคาทรัพย์สินสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดินและเป็นพยานจำเลยทั้งสี่อีกคนหนึ่งเบิกความว่า ราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงตารางวาละ 40,000 บาท เป็นข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ได้ไปสำรวจเก็บได้ในปี 2535 ข้อมูลนั้นได้จากการสัมภาษณ์ผู้ขาย นายหน้า จากสถาบันการเงินและจากการประกาศขายที่ดิน แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับที่ดินที่นำมาประเมินราคาทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงทำเล ที่ตั้ง การเข้าถึงแปลงที่ดิน รูปแปลนที่ดิน และข้อจำกัดการใช้ที่ดิน ซึ่งเรียกว่าการประเมินรายแปลงก็ตาม จากคำเบิกความของพยานจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวก็ยังไม่ได้ความว่าที่ดินโฉนดเลขที่32942 ของโจทก์ที่ 1 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ตารางวาละเท่าใด เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 และจำเลยทั้งสี่เกี่ยวกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ให้เหมาะสมโดยอาศัยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา21 (1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมได้

++

++ ข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ตั้งอยู่ติดซอยซึ่งเป็นถนนคอนกรีตเชื่อมระหว่างซอยรามคำแหง 2 และซอยรามคำแหง 4ห่างจากถนนรามคำแหงประมาณ 100 ถึง 150 เมตร อยู่ในย่านที่มีความเจริญ บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและสถานที่ราชการต่าง ๆ ที่ดินของนางซาฟียะ เปลี่ยนเดชา อยู่ห่างจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ประมาณ 200 ถึง 300 เมตร ไม่มีทางรถยนต์เข้าออกสู่ถนนสาธารณะ มีแต่เพียงทางเท้า อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนเช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 90,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.14 และ จ.15 และภาพถ่ายหมาย จ.17

++ จึงเห็นได้ว่าที่ดินของโจทก์ที่ 1 มีสภาพและทำเลที่ตั้งดีกว่าที่ดินของนางซาฟียะ นางสาวณัฐนรีเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ทั้งสองว่า ที่ดินใกล้เคียงหากรถยนต์เข้าถึงจะมีราคาสูงกว่าที่ดินที่รถยนต์เข้าไม่ถึง ดังนั้นที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่นางซาฟียะตารางวาละ90,000 บาท สูงกว่าที่กำหนดให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 เมื่อคำนึงถึงพยานหลักฐานที่โจทก์ที่ 1 นำสืบเกี่ยวกับที่ดินแปลงอื่น ๆราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่จะต้องเวนคืนที่ฝ่ายจำเลยกำหนด กับสภาพที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างเต็มที่เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารสูง 7 ชั้น และที่ตั้งที่ดินของโจทก์ที่ 1ดังกล่าว ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5)แล้ว

++ เห็นว่า เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่จะต้องเวนคืนที่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมคือ ตารางวาละ 110,000 บาท ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด

++ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถูกเวนคืน 15 ตารางวา เป็นเงิน 1,650,000บาท จำเลยที่ 1 ได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินแล้วจำนวน 400,000 บาท จึงต้องชำระเพิ่มอีก 1,250,000 บาท

++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาลดลงอีก 500,000 บาท ส่วนจำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ที่ดินและอาคารของโจทก์ที่ 1ราคาไม่ลดลงนั้น

++ เห็นว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาหรือราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์นั้น โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อจำเลยที่ 4 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

++

++ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ จำนวนเงิน 500,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา

++

++ ส่วนเงินค่าทดแทนที่ดินที่เสื่อมราคาหรือมีราคาลดลงนั้น เห็นว่า ตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 4 ซึ่งเป็นแผนผังแสดงที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษที่ดินของโจทก์ที่ 1 ตรงกับเลขหมาย 287 ถูกเขตทางพิเศษตลอดด้านทิศตะวันออกซึ่งอยู่ติดถนนทำให้ที่ดินของโจทก์ที่ 1 มีรูปทรงเปลี่ยนไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และเขตทางพิเศษเป็นระบบทางด่วนยกระดับซึ่งโจทก์ที่ 1 ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางดังกล่าวจากหน้าที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ การที่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่เหลืออยู่ใต้ทางพิเศษย่อมทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปกระทบถึงสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และถูกทางพิเศษที่อยู่ด้านบนบดบังทัศนียภาพตามปกติ อีกทั้งต้องรับผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องเสียงเครื่องยนต์และฝุ่นละอองจากรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาบนทางพิเศษ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่เหลือจึงมีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปในทางด้อยลง มูลค่าของที่ดินย่อมลดลงจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดใช้เงินค่าทดแทนในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคสาม

++ ที่ดินโฉนดเลขที่ 32942 ของโจทก์ที่ 1 มีเนื้อที่ 106 ตารางวาจะต้องถูกเวนคืน 15 ตารางวา ทางด้านหน้าซึ่งใช้เป็นทางเข้าออกอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ การใช้ประโยชน์ของที่ดินที่เหลือจึงไม่สะดวกเหมือนเดิม

++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลืออันมีราคาลดลง เป็นเงิน1,000,000 บาท นั้น

++ เห็นว่า ศาลฎีกาได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไปแล้วตารางวาละ 110,000 บาท ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่91 ตารางวา ขณะที่ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนจึงควรมีราคารวมแล้วเป็นเงิน 10,010,000 บาท ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงจำนวน 1,000,000 บาท คิดเป็นอัตราส่วนเพียงประมาณร้อยละสิบของมูลค่าที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าว นับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมแล้ว จึงเพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็น 1,000,000 บาทตามที่โจทก์ขอ

++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนค่าเช่าที่ลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์เดือนละ 50,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ เพราะโจทก์ต้องปรับค่าเช่าลดลง อันเป็นผลประทบโดยตรงต่ออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้น

++ เห็นว่า ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืนจากการที่สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 มีราคาค่าเช่าลดลงได้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนกรณีนี้ได้

++ ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างอันได้แก่รั้วคอนกรีต ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้และไม้ยืนต้น จำนวนเงิน97,482.93 บาท ที่กำหนดให้แก่โจทก์ที่ 1 เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเกินคำฟ้องหรือคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142 ประกอบมาตรา 246 นั้น

++ เห็นว่า จำเลยทั้งสี่มีนายธีระพล ธีรมหานนท์วิศวกร 7 ซึ่งมีหน้าที่ประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นที่ถูกเวนคืน เป็นพยานเบิกความว่า สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่ถูกเวนคืนได้ถ่ายรูปไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เข้าทำการตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนแล้ว ก็จะนำมาถอดแบบเพื่อคำนวณราคา เมื่อได้ข้อมูลจากการสำรวจแล้วพยานจะนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณตามดัชนีของราคาวัสดุที่เป็นราคากลางของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วจะทำการปรับราคาขึ้นโดยคิดค่าวัสดุ ค่าแรง กำไร ภาษี ค่าดำเนินการเข้าด้วย รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ล.6 รั้วคอนกรีตมีการหักค่าเสื่อม 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าวัสดุเนื่องจากสร้างมานาน 7 ปีแล้วส่วนลานคอนกรีตสร้างมานานเกือบ 3 ปี ไม่มีการหักค่าเสื่อม เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ตามคำเบิกความของนายธีระพลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้กระทำโดยมีหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ส่วนโจทก์ที่ 1 เบิกความลอย ๆ แต่เพียงว่า สำหรับสิ่งปลูกสร้าง90,000 บาทเศษ หากมีการสร้างจริงไม่สามารถสร้างได้ในราคาดังกล่าวจะต้องใช้ค่าใช้จ่าย 200,000 บาทเศษ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างประเมินราคาและแจ้งรายละเอียดการใช้จ่ายมาให้ พยานให้ผู้รับเหมาก่อสร้างหลายรายประเมินราคา แต่ละรายประเมินไว้เกินกว่า 200,000บาท ทั้งนั้น จึงขอเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง 200,000 บาท โดยโจทก์ที่ 1ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสืบสนับสนุนคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว

++ ดังนั้น พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสี่จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1

++ เห็นว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้นั้นเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว

++ เมื่อไม่เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสี่ที่ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ที่ 1 เกินคำขอของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ต่อไป เพราะแม้วินิจฉัยไปก็หาทำให้ผลคำวินิจฉัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป

++ อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ใช้ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินโดยไม่ได้กำหนดว่าต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10.75 ต่อปีตามที่โจทก์ที่ 1 ขอด้วยนั้น อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจจะเกินคำขอของโจทก์ที่ 1 ได้ ศาลฎีกาจึงเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวไว้ด้วยเพื่อไม่ให้เกินคำขอของโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2543

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90, 91 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ม. 25, 27, 29

โจทก์บรรยายฟ้องโดยแบ่งการกระทำที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับการผลิตอาหารปลอม และส่วนที่สองเกี่ยวกับการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นอาหารปลอมและที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม สำหรับส่วนแรกของฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับการปลอมสลากเครื่องหมายการค้า ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า มีผู้อื่นปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหาย มิได้อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และในส่วนที่เกี่ยวกับการนำเครื่องหมายการค้าปลอมไปปิดผนึกไว้ที่ขวดบรรจุสินค้าและการนำซอสหอยนางรมที่ผลิตขึ้นมาบรรจุลงในขวดที่ปิดผนึกฉลากเครื่องหมายการค้าปลอม ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นความผิดกรรมที่สองที่สามนั้น ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า การกระทำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตอาหารปลอมของจำเลย การกระทำทั้งสองอย่างของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกับการกระทำความผิดฐานผลิตอาหารปลอมของจำเลย สำหรับส่วนหลังของฟ้อง เนื่องจากการจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นอาหารปลอมและมีเครื่องหมายการค้าปลอม เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังรวมทั้งมีเจตนาที่แยกต่างหากจากการผลิตอาหารปลอม จึงเป็นการกระทำคนละกรรมต่างกันจากการผลิตอาหารปลอม ต้องลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้อีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2543

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 271

คำพิพากษาระบุลำดับขั้นตอนการบังคับคดีไว้ จึงต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนนั้น ศาลต้องออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาในหนี้อันดับแรก จำเลยจะเลือกปฏิบัติขอชำระหนี้ในลำดับที่สองและจะขอให้บังคับคดีเกินไปจากคำพิพากษาหาได้ไม่ ทั้งคำขอของจำเลยเกินขอบเขตอำนาจของกฎหมายเพราะผู้ที่ขอให้บังคับคดีได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 และ 275

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2543

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 83 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 18, 121 วรรคหนึ่ง, 121 วรรคสอง, 227 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ม. 26

ความผิดในข้อหาลักทรัพย์และข้อหาร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม เป็นคดีอาญาแผ่นดินอันมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่ห้ามพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง เมื่อมีความผิดอาญาแผ่นดินเกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่ต้องสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพื่อเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18ประกอบมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษกระทำผิดหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนรวมทั้งการที่พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว

ความผิดทั้งสองฐานตามฟ้องเกิดจากโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกับพวกนำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย แม้จำเลยกับพวกจะกระทำการดังกล่าวที่บริษัทของจำเลยแต่ผลของการกระทำก็เกิดขึ้นแก่โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูกรบกวน จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำต่อเนื่องกันระหว่างท้องที่ที่บริษัทจำเลยตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้แล้วเกิดขัดข้องซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพญาไทจึงมีอำนาจสอบสวน การสอบสวนได้กระทำโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

โทรศัพท์มือถือที่ ช. ซื้อมาจากบริษัทจำเลยผ่านทาง ม. นั้น เป็นโทรศัพท์ที่คนของบริษัทจำเลยทำการลักลอบปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นช่องสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขของผู้เสียหาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรบกวนและขัดขวางการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมพ.ศ. 2498 มาตรา 26 และเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่าร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม จำเลยก็ให้การรับสารภาพ จากพยานหลักฐานของโจทก์และพฤติการณ์แห่งคดี แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องมือปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่หรือถอดรหัสสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็ฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือสมรู้ร่วมคิดกับพวกอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันประกอบธุรกิจอันไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2543

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 197, 202, 208

ขณะเจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายเรียกและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสองครั้ง จำเลยได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่วัด ซึ่งห่างจากบ้านจำเลยเพียงประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางไปมาสะดวก ที่บ้านจำเลยมีภริยาบุตรสาวและบุตรเขยของจำเลยอาศัยอยู่ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มักไปทำบุญที่วัดดังกล่าวเป็นประจำ ทั้งในการส่งหมายให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งเจ้าหน้าที่พบภริยาจำเลยอยู่ที่บ้าน แต่ภริยาจำเลยไม่ยอมรับหมายแทน จึงได้ปิดหมายไว้ตามคำสั่งศาล แสดงว่าภริยาจำเลยทราบเรื่องการส่งหมายทั้งสองครั้งแล้ว ซึ่งตามปกติวิสัยเรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ ภริยาจำเลยหรือบุคคลอื่นในบ้านย่อมต้องรีบแจ้งให้จำเลยทราบเรื่อง ดังนั้น การที่จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การในกำหนด และไม่ได้ไปศาลตามวันเวลาที่นัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ย่อมถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและจงใจขาดนัดพิจารณา คดีจึงไม่มีเหตุให้พิจารณาใหม่และรับคำให้การของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2543

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 852 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 39 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 138 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ม. 7

ปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 หรือไม่ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในคดีนี้ในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยมีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้

เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยยื่นฎีกาพร้อมแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่รับรองถูกต้องมาด้วย โจทก์ได้รับสำเนาฎีกาและยื่นคำแก้ฎีการับว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยฎีกา

มูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คคดีนี้ โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่ง แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "จำเลยยอมชำระหนี้ให้กับโจทก์เป็นจำนวนเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ ซึ่งการตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญาหากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้ โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุด และยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีอันแสดงว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญาแก่โจทก์แล้ว แม้จะไม่เป็นการยอมความกันในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็ครวมทั้งเช็คที่ออกชำระหนี้ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ผลการประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องที่แต่ละฝ่ายสละนั้นระงับสิ้นไป และแต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวได้อีก ถือว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2543

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 27, 201

ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยที่ 1 มาศาล ส่วนผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทนายโจทก์ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องสอบถามจำเลยที่มาศาลก่อน แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่มาศาลต้องแจ้งต่อศาลในวันหรือก่อนวันสืบพยานว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันหรือก่อนวันสืบพยานโจทก์ว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอันจะต้องเพิกถอนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2543

พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 10 พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ม. 4

เมื่อสินค้าใดถูกระบุว่าจะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีศุลกากรหมวดใดก็จะต้องเสียภาษีไปตามที่ถูกระบุไว้ในอัตรานั้นตามพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง มิใช่พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วนำสินค้าที่นำเข้าไปไว้กับกิจการใดเป็นหลักสำคัญในการสำแดงรายการสินค้าประเภทพิกัดและอัตราศุลกากร

สินค้าพิพาทเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับซึ่งมีชื่อสินค้าตรงกับรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 85.01 ประเภทย่อย 8501.620 เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (อัลเทอร์เนเตอร์) (ACGENRATOR) ตอนที่ 85 เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าว สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดย่อย 8501.620 และเมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในตอนที่ 85 จึงเป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบตามหมายเหตุข้อ 2 ของหมวด 17 ที่ระบุไม่ให้ใช้กับเครื่องจักรไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85) สินค้าพิพาทจึงไม่อยู่ในหมวด 17 ประเภทพิกัดย่อย 8607.990 ซึ่งเป็นรายการส่วนประกอบของรถหัวจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่เดินบนราง

สินค้าพิพาทเป็นเครื่องกลับกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีชื่อตรงกับรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 85.04 จึงต้องจัดอยู่ในประเภทพิกัด 85.04ประเภทพิกัดย่อย 8504.400 ส่วนรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 86.07 เป็นสินค้าที่เกี่ยวกับส่วนประกอบของรถหัวจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่ดินบนราง ซึ่งหมายเหตุข้อ 2(ฉ) ของหมวด 17 คำว่า "ส่วนประกอบ"และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" มิให้ใช้กับเครื่องจักรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85) ดังนั้น สินค้าพิพาทจึงไม่อาจอยู่ในหมวดที่ 17 ประเภทพิกัดย่อย 8607.190

ประเภทพิกัด 90.32 ระบุรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ได้แก่อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์สำหรับบังคับหรือควบคุมโดยอัตโนมัติ (AUTOMATICREGULATINGORCONTROLLINGINSTRUMENTANDAPPARATUS) อันได้แก่ เครื่องปรับแรงเคลื่อนไฟฟ้าโดยอัตโนมัติสำหรับใช้กับความดันไฟฟ้าตั้งแต่ 11,000 โวลต์ขึ้นไปและส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าว ดังนั้น เมื่อสินค้าพิพาทเป็นตัวบังคับและตัวควบคุมทางไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมไฟฟ้า สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัด 90.32 ประเภทย่อยที่ 9032.890

สินค้าพิพาทเป็นมอเตอร์ที่ใช้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิก (OILMOTOR) มีชื่อระบุไว้ชัดเจนในประเภทพิกัดย่อย 8412.290 แล้ว ประเภทพิกัดย่อย 8607.190ซึ่งอยู่ในหมวด 17 ตอนที่ 86 ระบุรายการสินค้าคือส่วนประกอบของหัวรถจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่เดินบนรางซึ่งเป็นคนละประเภทกับสินค้าพิพาทที่เป็นมอเตอร์ที่ใช้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิกประกอบกับหมายเหตุข้อ2(จ) ของหมวด 17 ระบุคำว่า "ส่วนประกอบ" และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" ไม่ให้ใช้กับเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามประเภทที่ 84.01 ถึง 84.79 และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าวของตามประเภทที่ 84.81 หรือ 84.82 หรือ 84.83 เฉพาะที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องยนต์หรือมอเตอร์สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดย่อย8412.290

« »
ติดต่อเราทาง LINE