คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3854/2529

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 29, 30, 31 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 27, 32, 102 ตรี พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ม. 105, 108, 129, 148, 152, 154

ศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลย5คนโดยรวมปรับเมื่อจะต้องกักขังแทนค่าปรับแม้จำเลยจะถูกลงโทษปรับในความผิดหลายกระทงก็คงกักขังจำเลยทุกคนแทนค่าปรับได้ไม่เกินสองปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา30โดยต้องเฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของตัวจำเลยและเมื่อรวมจำนวนวันที่ถูกกักขังของจำเลยทุกคนแล้วต้องไม่เกินสองปีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา30.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3829/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 218

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน284,487บาท60สตางค์คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2529

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 56

รายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยก่อนพิพากษาของพนักงานคุมประพฤติตรงกับคำให้การของจำเลยว่าจำเลยเก็บอาวุธปืนของกลางได้จึงเก็บไว้ที่ท้ายรถเพื่อจะนำไปมอบให้เจ้าหน้าที่แต่ถูกจับกุมเสียก่อนประกอบกับจำเลยเป็นผู้ประพฤติดีไม่ปรากฏว่าเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงเป็นการสมควรรอการลงโทษให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3820/2529

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 352 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 218

คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้เปลี่ยนโทษจำคุก1เดือนเป็นกักขังแทนจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218 จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตพยานหลักฐานของจำเลยฟังได้และควรรอการลงโทษจำเลยหรือกักขังในสถานที่อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งล้วนแต่เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3771

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3771/2529

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 123 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 8, 49

จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุว่า โจทก์กระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โจทก์จึงฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ปัญหาจึงมีเพียงว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ คดีไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3756/2529

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 19, 20 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515

สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยทำในประเทศอังกฤษโดยให้โจทก์ทำงานในประเทศมาเลเซียได้กำหนดเงื่อนไขในการจ้างและสิทธิของลูกจ้างไว้โดยชัดแจ้งแม้ต่อมาจำเลยจะส่งโจทก์เข้ามาทำงานในประเทศไทยซึ่งมีระเบียบข้อบังคับคู่มือพนักงานใช้บังคับเฉพาะลูกจ้างของจำเลยซึ่งกระทำกันในประเทศไทยเท่านั้นโจทก์จะเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่มีจำนวนมากกว่าสัญญาจ้างจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามคู่มือพนักงานฉบับดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420

จำเลยที่3และที่4ร่วมกับบุคคลอื่นเป็นคณะกรรมการรักษาเงินมีหน้าที่ปิดเปิดกำปั่นโดยถือกุญแจไว้คนละดอกไม่มีหน้าที่ไปสอบถามและเร่งรัดให้ส่วนราชการต่างๆนำเงินมาเก็บในกำปั่นเพราะเป็นหน้าที่ของผู้ที่รับเงินไว้จะต้องนำเงินนั้นมาเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อนำเข้าเก็บในกำปั่นต่อไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการรักษาเงินจึงมีหน้าที่ดูแลเก็บรักษาเฉพาะเงินที่ได้นำมาเก็บไว้ในกำปั่นเท่านั้นเมื่อเงินของโจทก์ถูกยักยอกไปขณะอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานสรรพากรโดยที่ยังไม่ได้นำเข้าเก็บในกำปั่นจึงไม่เกี่ยวกับการจงใจหรือประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการรักษาเงินจำเลยที่3และที่4ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 583 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ถูกจับกุมและควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำจังหวัดสมุทรปราการตั้งแต่วันที่14มกราคม2529จนถึงวันที่12มีนาคม2529อันเป็นวันที่จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นเวลานานเกือบ2เดือนโดยละเลยไม่นำพาที่จะแจ้งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างทราบเพื่อที่จำเลยจะได้ดำเนินการหาคนมาปฏิบัติหน้าที่แทนทั้งที่โจทก์มีโอกาสที่จะแจ้งให้จำเลยทราบถึงเหตุที่ไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่ากระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามความหมายของมาตรา583แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3815/2529

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 13, 31, 52

การยุติและการถอนข้อเรียกร้องในกรณีที่ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์จะเรียกร้องต่อไปไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือการที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องแล้วได้มีการเจรจากัน2ครั้งหลังจากนั้นเป็นเวลาถึง2ปีเศษไม่มีการเจรจากันอีกเช่นนี้ย่อมถือได้โดยปริยายว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจที่จะเจรจากันในเรื่องของข้อเรียกร้องนั้นต่อไปอีกโดยต่างยอมยุติข้อเรียกร้องนั้นหลังจากนั้นจำเลยย้ายโจทก์ซึ่งเป็นรองประธานสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา31และมาตรา52.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3800/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 800, 801 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 1 (3), 57 (3), 58, 60

หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความว่า'องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยนายยรรยงคุโรวาทรองผู้อำนวยการ(บริหาร)ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้นายเสริมชาติสุจริตพงศ์ฟ้องนายจำลองรุธิระวุฒิบริษัทขอนแก่นยนต์จำกัดบริษัทธนกิจประกันภัยจำกัดต่อศาลแพ่งในเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายทั้งนี้ให้รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆทั้งในศาลและนอกศาล……ฯลฯ…'ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการมิใช่มอบอำนาจทั่วไปและระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องเฉพาะจำเลยทั้งสามเท่านั้นแม้คำร้องของผู้รับมอบอำนาจช่วงที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีมิใช่คำฟ้องแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีแล้วก็มีผลให้จำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องจำเลยร่วมให้ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยและที่มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆทั้งในศาลและนอกศาลนั้นย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วงนั้นเท่านั้นผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี.

« »
ติดต่อเราทาง LINE