คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3082/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 213, 227
พยานโจทก์มีเหตุที่สงสัยไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองจะเป็นคนร้ายชิงทรัพย์เป็นเหตุในลักษณะคดีแม้จำเลยที่2มิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ตามศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่2ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529
ประมวลรัษฎากร ม. 39, 65
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี2515ถึง2517หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี2527นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ทั้งนี้เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา65กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา39ให้หมายถึงเงินทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ(อ้างฎีกาที่580/2506และ793/2523).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1036, 1077, 1080, 1087, 1088 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 138, 142, 183
คดีนี้โจทก์จำเลยท้ากันให้ศาลชี้ข้อกฎหมายประเด็นเดียวว่าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะมีสิทธิร่วมประชุมถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการหรือไม่เท่ากับโจทก์จำเลยยอมสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้วโจทก์จะยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1032ขึ้นตั้งเป็นประเด็นใหม่อีกหาได้ไม่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อโต้แย้งของโจทก์ข้อนี้อยู่นอกคำท้าไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาไดมีสิทธิและความรับผิดเท่าเทียมกันไม่การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้นหากห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวผู้นั้นก็เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโดยลำพังหากมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหลายคนต่างคนต่างก็มีสิทธิเข้าจัดการห้างหุ้นส่วนหรืออาจตกลงระหว่างกันเองให้ใครเป็นผู้จัดการก็ได้และเมื่อจะถอดถอนผู้จัดการก็จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอนทำนองเดียวกับกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนี้มีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเองส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดหาได้มีสิทธิและความรับผิดอย่างผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นการนำมาตรา1036ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองของห้างหุ้นส่วนสามัญใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องใช้เฉพาะกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้นและที่มาตรา1088วรรคสองมิให้ถือว่าการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดออกความเห็นแนะนำหรือออกเสียงลงคะแนนในการตั้งและถอดถอนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของหุ้นส่วนนั้นก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเท่านั้นซึ่งเป็นข้อยกเว้นหาใช่กรณีทั่วไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 368, 680 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 60 ประมวลรัษฎากร ม. 118
โจทก์มอบอำนาจให้ อ.และหรือส. ดำเนินคดีฟ้องร้องจำเลยแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคน กระทำการครั้งเดียว ต้องปิดอากรแสตมป์ 5 บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ก) ซึ่งใช้บังคับในขณะที่มี การมอบอำนาจ จึงเป็นการปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรแล้ว ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง หนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2ขอค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัดสยามคัลเลอร์แลบในการซื้อเชื่อสินค้าจากโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีห้างหุ้นส่วนจำกัดสยามคัลเลอร์แลบซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คงมีแต่จำเลยที่ 1 ซึ่งใช้ชื่อร้านว่าสยามคัลเลอร์แลบ ดังนี้ จำเลยที่ 2 มีเจตนาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือไม่ก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 เจ้าของร้านสยามคัลเลอร์แลบซื้อเชื่อสินค้าจากโจทก์และไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2ก็ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันจะอ้างว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัดสยามคัลเลอร์แลบซึ่งไม่มีตัวตนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1600, 1601 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 82
หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ที่บิดาของจำเลยได้กระทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมจึงเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของเจ้ามรดกมิใช่เป็นกองมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทตามป.พ.พ.มาตรา1600จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์หากจำเลยได้รับมรดกก็รับผิดต่อเจ้าหนี้กองมรดกไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตนได้รับตามป.พ.พ.มาตรา1601โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับถึงทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดกจึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการมรดกของเจ้ามรดกตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา82.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3021/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 900, 916, 989 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 208
หลังจากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้วจำเลยไม่ได้อยู่รอฟังคำสั่งแต่ได้ให้คำรับรองไว้ว่าตนรอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอก็ให้ถือว่าทราบแล้วศาลชั้นต้นได้เกษียนสั่งในคำให้การของจำเลยในวันเดียวกันนั้นเองให้รับคำให้การจำเลยสำเนาให้โจทก์นัดพร้อมตัวความและสืบพยานโจทก์ฯลฯแม้เจ้าหน้าที่ศาลได้กำหนดวันสืบพยานโจทก์โดยไม่มีลายมือชื่อฝ่ายจำเลยทราบวันสืบพยานโจทก์ในบัญชีนัดพิจารณาคดีของศาลก็ตามแต่การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศาลที่กำหนดวันสืบพยานโจทก์นั้นถือว่าได้กระทำหรือปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแลหรือตามคำสั่งศาลคดีจึงถือว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลในวันที่จำเลยยื่นคำให้การที่จำเลยอ้างว่าป่วยไม่ได้มาศาลก่อนที่จำเลยทราบก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทราบคำสั่งแล้วและถือว่าจำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์เป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208จะต้องกล่าวในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยชัดแจ้งให้เห็นว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรคำขอให้พิจารณาใหม่ตลอดจนคำให้การของจำเลยไม่ได้กล่าวว่าโจทก์ได้รู้ความจริงว่าเช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ตามเช็คหรือโจทก์รับโอนเช็คด้วยการคบคิดกับผู้ที่รับเช็คไว้จากจำเลยเพื่อฉ้อฉลจำเลยไม่ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์รับมอบเช็คนั้นไว้โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและมีคำสั่งห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นคดีจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบหรือรับเช็คนั้นไว้โดยสุจริตจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแม้จะพิจารณาใหม่จำเลยก็ไม่อาจชนะคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3020/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 149, 161, ตาราง 5
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ3ครึ่งตามตาราง5ข้อ2ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีตามตาราง5ข้อ2ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของและเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงินแม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตามแต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัดเป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว กรณีตามตาราง5ข้อ4หมายถึงเมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายการขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัดจึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3006/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 87, 177, 182, 225 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำให้การของจำเลยอ้างเหตุแต่เพียงว่าโจทก์เล่นการพนันกับพนักงานในขณะทำงานคดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันเกิน3วันหรือดื่มสุราในเวลาทำงานหรือไม่แม้ทางพิจารณาจำเลยจะได้นำสืบถึงเหตุดังกล่าวก็เป็นการนำสืบนอกประเด็น จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์มีหน้าที่พิสูจน์อักษรแต่โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่อย่างร้ายแรงทำให้การพิสูจน์อักษรในหนังสือฉบับพิเศษของหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจฉบับดีเด่นแห่งปีประจำปี2528ผิดพลาดไป20แห่งเป็นข้อผิดพลาดมากจำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจึงเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้เป็นการอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)แต่อุทธรณ์ของจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประกาศฯดังกล่าวข้อ47(2)ซึ่งจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ประกอบด้วยมาตรา31แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 453
แม้หัวข้อของสัญญาจะระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายก็ตามแต่ไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าให้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตกเป็นของโจทก์ในวันทำสัญญาแต่อย่างใด กลับมีข้อความระบุว่าจะไปทำการโอนโฉนดกันเมื่อโจทก์ชำระเงินให้จำเลยหมดแล้ว แสดงว่าตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้รับค่าที่ดินครบถ้วน ก็ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ การที่ตกลง โอนกรรมสิทธิ์ในภายหลัง จึงมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 352, 353
เงินค่าใช้สอยที่จำเลยเบิกไปจากโจทก์จำเลยมีสิทธิครอบครองใช้จ่ายได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขออนุมัติจากโจทก์ทั้งโจทก์มิได้กำหนดการจ่ายไว้เป็นที่แน่นอนสุดแล้วแต่จำเลยจะเห็นสมควรใช้จ่ายอย่างใดแล้วนำหลักฐานมาหักหนี้ในทางบัญชีกับโจทก์ในภายหลังกรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ได้รับไปจากโจทก์หาใช่จำเลยครอบครองเงินดังกล่าวไว้แทนโจทก์หากจำเลยไม่มีหลักฐานมาหักหนี้หรือมีเงินเหลือแล้วไม่ส่งคืนโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องทางแพ่งเอาแก่จำเลยกรณีไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานยักยอก.