คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 234, 249
จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์เรื่องขอขยายเวลาวางเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234เมื่อพิจารณาถึงว่าโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวที่พิพาทจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่ปลูกตึกแถวพิพาททั้งไม่ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของตึกพิพาทการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่ปลูกตึกแถวพิพาทโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งจำเลยจะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้อยู่แล้วทั้งอุทธรณ์ข้ออื่นก็เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามดังนี้แม้ศาลอนุญาตขยายเวลาชำระเงินตามคำพิพากษาหรืออนุญาตให้หาประกันตามคำขอของจำเลยเพื่อให้คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไม่ต้องห้ามตามมาตรา234ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะพึงเกิดแก่คดีของจำเลยเพราะในที่สุดจะไม่ทำให้อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3329/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 104, 142 (5), 249 พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนโอนนาหรือที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาควบคุมให้แก่ผู้เช่าโดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้นผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายเสียก่อนกล่าวคือต้องมีการร้องขอต่อคชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยให้จำเลยขายที่ดินให้แก่โจทก์เสียก่อนเมื่อคชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นประการใดผู้ไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดภายใน30วันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยแต่ต้องไม่เกิน60วันนับแต่วันที่คชก.ตำบลมีคำวินิจฉัยมิฉะนั้นให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นถึงที่สุดหากคชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นที่พอใจจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีได้เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีทันทีโดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้เช่นนี้โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องและอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จำเลยฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารรื้อถอนบ้านเรือนออกจากที่พิพาทโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งไว้ว่าโจทก์เช่าที่ดินพิพาทเพื่อการเกษตรกรรมปลูกพืชล้มลุกเช่นกล้วยเป็นพืชหลักและเป็นรายได้หลักตลอดมาปัญหาจึงอยู่ที่ว่าต้นกล้วยเป็นพืชไร่หรือไม่การปลูกต้นกล้วยของโจทก์ถึงขนาดเป็นการทำนาหรือไม่ถ้าเป็นที่ดินที่ทำก็ถือได้ว่าเป็นนาตามบทบัญญัติในมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524โจทก์จึงอาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าวให้ยังไม่ต้องถูกขับไล่ออกจากที่เช่าก็ได้จึงเป็นเรื่องที่ศาลจะพึงพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายก่อนไม่ควรที่จะงดสืบพยานโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 326, 393 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 219
คำพูดของจำเลยที่ด่าว่าผู้เสียหายต่อเด็กหญิงก. ว่า"ให้ไอ้อุ่มเอาควยตำหีตำแตด ครั้งก่อนเคยให้ไอ้อุ่มเอาควยตำหีตำปากไปทีหนึ่งแล้ว"และที่จำเลยพูดกับส. ว่า"เมื่อเช้าอีรุณ (หมายถึงผู้เสียหาย)มาแหกปากร้านลัดดากูเลยให้ลูกชายเอาควยทิ่มหีทิ่มปากกลับไป"มิใช่คำยืนยันใส่ความผู้เสียหายว่าเคยร่วมประเวณีกับนายอุ่ม นายอุ่มที่กล่าวถึงก็เป็นบุตรของจำเลยและยังเป็นเด็กไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นชู้กับผู้เสียหายไม่ทำให้บุคคลที่สามเข้าใจไปว่าผู้เสียหายมีความประพฤติไม่ดีเคยร่วมประเวณีกับนายอุ่ม ไม่หมิ่นประมาทตามป.อ.มาตรา326แต่เป็นคำด่าผู้เสียหายด้วยคำหยาบในที่ลับหลังผู้เสียหายซึ่งเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามมาตรา393 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามป.อ.มาตรา326ลงโทษสองกระทงเป็นจำคุก2เดือนปรับ2,000บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้2ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามป.อ.มาตรา393กระทงเดียวลงโทษปรับ1,000บาทเป็นคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้แต่ก็ยังคงลงโทษจำคุกหรือปรับจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าวจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ.มาตรา219.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 68, 80, 288
จำเลยเป็นหญิงอายุ20ปีรูปร่างเล็กกว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นชายอายุ31ปีและถูกผู้เสียหายปลุกปล้ำเพื่อร่วมประเวณีด้วยในห้องพักของโรงแรมจำเลยได้ต่อสู้ดิ้นรนกับการกระทำของผู้เสียหายขณะที่ถูกผู้เสียหายนอนกดทับพยายามจะข่มขืนอยู่นั้นจำเลยดึงมีดคัตเตอร์ออกจากกระเป๋ากางเกงด้านหลังมาทำร้ายผู้เสียหายเป็นบาดแผลที่บริเวณคอความยาว12เซนติเมตรกว้าง1/2เซนติเมตรและลึก1เซนติเมตรแม้เป็นการกระทำโดยแรงถึงขั้นมีดคัตเตอร์หักแต่จำเลยก็กระทำครั้งเดียวเหตุที่มีดคัตเตอร์หักก็เป็นไปตามสภาพของมีดคัตเตอร์นั่นเองทั้งในสภาพที่ถูกกดทับพยายามจะข่มขืนอยู่นั้นจำเลยย่อมไม่มีทางจะเลือกกระทำต่อส่วนอื่นของร่างกายผู้เสียหายได้คงกระทำได้แต่ส่วนบนที่ไม่ได้กดทับจำเลยเท่านั้นการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุจำเลยจึงไม่มีความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 274 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 45
เครื่องหมายการค้าที่จะถือได้ว่าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้นจะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าที่ถูกลอกเลียนนั้นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือได้ใช้มาก่อนย่อมไม่อาจเลียนเครื่องหมายการค้าที่เกิดหรือใช้ในภายหลังได้. เครื่องหมายการค้าตามฟ้องบริษัทล.ได้จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและบริษัทล.ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนโจทก์เป็นเวลานานจึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของบริษัทล.เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังนั้นเมื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายกางเกงยีนส์ที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัทล.จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา274และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474มาตรา45ซึ่งแก้ไขแล้วและความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะเนื่องจากทางราชการมีความมุ่งหมายจะควบคุมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดต่อรัฐโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2529
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
ระเบียบการทำงานของจำเลยกำหนดว่าการตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานแทนผู้อื่นเป็นการกระทำผิดวินัยการตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานมีความสำคัญในการปกครองพนักงานของบริษัทจำเลยให้เป็นไปโดยเรียบร้อยเป็นหลักฐานในการจ่ายค่าจ้างป้องกันการทุจริตแสวงหาประโยชน์ได้ค่าจ้างโดยมิได้มาทำงานตามบัตรตอกบันทึกเวลาทำงานนั้นโจทก์ได้กระทำผิดตอกบัตรแทนกันกับผู้อื่นจึงเป็นพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1497/2524).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191 - 3293/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 582 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. ,
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520การที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520พ.ศ.2528ใช้บังคับมีผลเพียงทำให้จำเลยต้องเลิกกิจการเพื่อสะสางกิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลต่อไปเท่านั้นหามีผลทำให้ลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปในตัวไม่การที่จำเลยจะเลิกจ้างลูกจ้างจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยโดยจำเลยออกคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นรายเดือนแต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจึงไม่ถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันมาเกิน120วันย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำจำเลยถูกยุบเลิกอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3137/2529
ประมวลรัษฎากร ม. 77, 79
โจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการการที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้หนี้ของโจทก์ลดลงนับได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ตอบแทนแล้วถือได้ว่าเป็นการขายตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา77ซึ่งให้ความหมายของคำว่า'ขาย'ว่า'หมายความรวมถึงสัญญาจะขายขายฝากแลกเปลี่ยนให้เช่าซื้อหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย' แม้ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจะมิใช่เป็นประโยชน์ตอบแทนทางการค้าหรือเป็นการปลดเปลื้องหนี้สินบางส่วนมิใช่รายรับเนื่องจากการประกอบการค้าโดยตรงแต่เมื่อโจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการการที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบการค้าของโจทก์นั่นเองหนี้ที่ลดลงก็เป็นประโยชน์ซึ่งมีมูลค่าที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้าจึงเป็นรายรับตามประมวลรัษฏากรมาตรา79อันโจทก์จะต้องเสียภาษีการค้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2529
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 10 ทวิ พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่?35) พ.ศ.2521 พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ม. ,
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร(ฉบับที่35)พ.ศ.2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาทไม่ได้ให้ความหมายของคำว่าเครื่องจักรไว้เป็นพิเศษจึงต้องถือตามความหมายธรรมดาซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่าเป็นกลอุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ผลิตอะไรขึ้นมาได้โดยลำพังอันจะถือได้ว่าเป็นเครื่องจักร สินค้าที่จะถือว่าอยู่ในพิกัดประเภทที่84.17ก.นั้นจะต้องเป็นเครื่องจักรเครื่องจักรโรงงานหรือเครื่องที่คล้ายกันสำหรับใช้ในห้องทดลองเสียก่อนและเครื่องจักรจะเข้าอยู่ในพิกัดประเภทดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นเครื่องจักรที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพโดยกรรมวิธีดังที่ระบุไว้ด้วยแม้คอนเดนเซอร์จะสามารถเปลี่ยนสภาพของก๊าซได้โดยกรรมวิธีที่ระบุไว้ในพิกัดประเภทที่84.17ก.ก็หาได้หมายความว่าคอนเดนเซอร์จะกลายเป็นเครื่องจักรไปด้วยไม่ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ผลิตอะไรขึ้นมาได้โดยลำพังอันจะถือได้ว่าเป็นเครื่องจักรหากแต่ต้องนำไปประกอบกับส่วนประกอบอื่นๆอีกจึงสามารถทำงานเป็นเครื่องปรับอากาศได้คอนเดนเซอร์จึงมีลักษณะเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศยิ่งกว่าเป็นเครื่องจักรในตัวของมันเองจึงต้องเสียอากรตามพิกัดประเภทที่84.15ข.หาใช่พิกัดประเภทที่84.17ก.ซึ่งมิได้กล่าวถึงส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศไว้แต่อย่างใดไม่ ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้เมื่อสามารถนำคอนเดนเซอร์ไปใช้ประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้มาแต่เดิมก็ต้องถือว่าเป็นเครื่องประกอบเครื่องปรับอากาศมาตั้งแต่ตอนโจทก์นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วแม้โจทก์จะไม่ได้นำส่วนประกอบอื่นเข้ามาด้วยและยังไม่ได้มีการประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศก็ตาม.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3023/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 910, 967, 988, 989, 1002
เช็คพิพาทผู้สั่งจ่ายออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือโดยผู้สั่งจ่ายได้ลงวันที่ในช่องวันที่ออกเช็คและลงชื่อกำกับไว้ใต้ช่องวันที่ออกเช็คดังนี้แม้ผู้สั่งจ่ายจะมิได้ลงเดือนและปีไว้ในช่องวันที่ออกเช็คก็ต้องถือว่าผู้สั่งจ่ายเจตนาให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่ในเช็คเอาเองในภายหลังผู้ทรงเช็คย่อมลงวันที่ในเช็คเป็นวันไหนก็ได้ผู้สั่งจ่ายจะโต้แย้งว่าผู้ทรงเช็คกระทำการโดยไม่สุจริตและเช็คนั้นไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายหาได้ไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งโอนเปลี่ยนมือกันได้เพียงด้วยการส่งมอบให้กันเมื่อโจทก์มีเช็คไว้ในครอบครองนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา989ประกอบมาตรา967 อายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คเรียกเงินตามเช็คห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา1ปีนับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1002.