คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 175 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 2 (4), 28
การที่จำเลยนำความเท็จมาฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาซึ่งเป็นการฟ้องเท็จนั้นโจทก์ย่อมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฟ้องเท็จของจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา175ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 479, 1332, 1336, 76 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 131, 132
จำเลยที่3เป็นพนักงานสอบสวนในการสืบสวนสอบสวนจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแสวงหาข้อเท็จจริงรวบรวมหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับความผิดเพื่อทราบข้อเท็จจริงพิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษการที่จำเลยที่3สืบสวนทราบว่ารถยนต์ของช.ที่ถูกยักยอกไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์และยึดรถยนต์ดังกล่าวมาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่3และกรมตำรวจจำเลยที่4ต้นสังกัดจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ซื้อรถยนต์จากท้องตลาดโดยสุจริตก็หาได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อนั้นไม่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1332เพียงแต่บัญญัติว่าผู้ซื้อไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริงเว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาดังนี้เมื่อเจ้าของติดตามรถยนต์ดังกล่าวคืนโดยตำรวจยึดรถยนต์นั้นไปและศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาเพราะเหตุที่โจทก์ถูกรอนสิทธิแล้วโจทก์จึงขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์อีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3386 - 3387/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 583 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177 วรรคสาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 5 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 8 (1)
การหย่อนสมรรถภาพในการทำงานไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นประการใดประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2521ข้อ3.4กำหนดว่า'ค่าจ้าง'หมายความว่าเงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วยแต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลาโบนัสเบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการหรือประโยชน์อย่างอื่น'ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างจึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น'ตามคำจำกัดความข้างต้นและตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพจึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้ ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัวพ.ศ.2525เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงานเป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานเป็นสภาพการจ้างและเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 91, 273 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ม. 4, 6, 25 (2), 27, 59 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2525)
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบังอาจผลิตอาหารปลอมโดยผลิตซอสน้ำมันหอยที่ผสมปรุงแต่งและทำขึ้นเทียมซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่อ.ผลิตทำขึ้นและทำออกจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้นซอสน้ำมันหอยที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินมาตรฐานที่กำหนดและใช้กรดเบนโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคและจำเลยได้นำอาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแบ่งบรรจุขวดแล้วนำฉลากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำปลอมขึ้นปิดที่ขวดเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพปริมาณและประโยชน์ว่าอาหารดังกล่าวเป็นซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่แท้จริงที่อ.ผลิตขึ้นคำบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงครบถ้วนตามความหมายของอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ.2522มาตรา27(2),(5)และ(4)แล้วและได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่างๆพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเป็นฟ้องที่สมบูรณ์. ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ. ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารเป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 164, 165 (9) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 12, 13 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
เงินรางวัลประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะที่เป็นพนักงานประจำซึ่งตั้งใจมาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและสม่ำเสมอไม่ขาดลาสายหรือกลับก่อนเวลาเลิกงานตามที่ระเบียบกำหนดไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ลูกจ้างประจำที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของมาตรา165(9)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ2แต่เป็นเงินประเภทอื่นที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเรียกร้องไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164. การที่นายจ้างจะแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งที่มีระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินรางวัลประจำปีซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้นั้นจะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518กำหนดไว้เมื่อนายจ้างเพียงแต่แจกรายงานการประชุมคณะทำงานของบริษัทนายจ้างซึ่งมีความหมายทำนองยกเลิกเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างโดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯทั้งการแก้ไขก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบถือไม่ได้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคำสั่งเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3143/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 59, 295, 288
จำเลยกับพวกอีก2คนรุมทำร้ายร่างกายผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายวิ่งหนีไปล้มลงนอนอยู่กับพื้นโดยพวกของจำเลยคนหนึ่งใช้มีดปลายแหลมยาวประมาณ1ศอกและพวกของจำเลยอีกคนหนึ่งใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ1แขนเป็นอาวุธฟันและตีผู้เสียหายหลายครั้งถูกที่ศีรษะผู้เสียหายมีบาดแผล4แห่งยาวประมาณ4เซนติเมตร3เซนติเมตรและ2เซนติเมตรอีก2แห่งแพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ10วันหายแม้ขณะเกิดเหตุจำเลยจะร้องบอกกับพวกว่าเอาให้ตายแต่ปรากฏว่าจำเลยชกผู้เสียหายเพียง1ครั้งแล้วไม่ได้ทำอะไรอีกและพวกของจำเลยก็มิได้ทำตามที่จำเลยร้องบอกทั้งที่จะทำร้ายผู้เสียหายมากไปกว่านั้นก็ย่อมกระทำได้พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยกับพวกมิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3368/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 80, 83, 288
ส.กับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหายแม้จำเลยจะมิใช่ผู้ยิงก็ตามแต่จำเลยเป็นบิดาของส.และอยู่ด้วยในขณะที่ส.ยิงผู้เสียหายตรงที่เกิดเหตุเป็นป่าโดยปกติจะไม่มีผู้สัญจรไปมาและเมื่อเกิดเหตุแล้วจำเลยกับพวกก็วิ่งหนีไปกับส.ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยเชื่อได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับส.กระทำความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3362/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 575 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142, 172 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหัวหน้าวงดนตรีมีโจทก์เป็นลูกวงเดิมบริษัทน.ร่วมกับจำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเล่นดนตรีโดยจำเลยรับเงินมาจากบริษัทน.แล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ต่อมาบริษัทน.่และจำเลยได้สั่งให้โจทก์ไปเล่นดนตรีที่บริษัทซ.จำกัดโดยโอนให้โจทก์ไปรับเงินเดือนจากบริษัทซ.จำกัดมีจำเลยเป็นผู้รับแทนแล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ดังนี้ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเท่ากับยืนยันว่าค่าจ้างที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นเงินของบริษัทซ.จำกัดไม่ใช่ของจำเลยจำเลยเพียงเป็นตัวแทนของโจทก์ไปรับค่าจ้างจากบริษัทซ.จำกัดมาจ่ายแก่โจทก์เท่านั้นจำเลยจึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3361/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 132, 249, 264
โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องจำเลยให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายและการจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ขอให้ห้ามจำเลยที่1จำหน่ายจ่ายโอนที่ดินทั้งสองแปลงพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินและห้ามจำเลยที่1รื้อถอนทำลายสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวศาลอุทธรณ์สั่งห้ามจำเลยที่1ทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างอุทธรณ์เว้นแต่นิติกรรมไถ่ถอนจำนองและห้ามจำเลยที่1รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทด้วยจำเลยที่1ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์และจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงร่วมกับจำเลยที่1กับเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่1ที่2ที่เกี่ยวกับที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ดังนี้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงไม่จำเป็นแก่คดีและที่จำเลยที่1ฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยที่1ต่อไปศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฎีกาจำเลยที่1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3360/2529
ประมวลรัษฎากร ม. 78 บัญชีอัตราภาษีการค้า 1 ชนิด 1 (ก) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ม. , 5 (8) บัญชี ที่ 1 หมวด 4 (6)
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่1หมวด4บัญญัติว่า'หมวด4วัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือน(1)ฯลฯ(6)กลอนบานพับคานเหล็กผลิตภัณฑ์โลหะใดๆที่มิได้ผลิตจากสินค้าตาม(4)'กลอนบานพับคานเหล็กเหล็กฉากเป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างแต่หาใช่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการก่อสร้างทุกรายไม่ผลิตภัณฑ์โลหะที่บัญญัติต่อท้ายกลอนบานพับคานเหล็กและเหล็กฉากดังกล่าวก็ต้องมีลักษณะทำนองเดียวกันกล่าวคือไม่ต้องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการก่อสร้างจนถึงแก่จะขาดเสียมิได้ด้วยทองเหลืองรูปตัวทีใช้สำหรับทำคิ้วพื้นหินขัดสามารถแบ่งพื้นหินขัดออกเป็นแผ่นๆป้องกันมิให้พื้นแตกเป็นทางยาวข้ามแผ่นได้และทองเหลืองรูปตัวแอลใช้ทำขอบของขั้นบันไดหินขัดก็หุ้มขอบบันไดมิให้แตกและสึกกร่อนง่ายทองเหลืองดังกล่าวจึงเป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างการที่ใช้ประกอบเข้าแล้วทำให้เกิดความสวยงามด้วยก็เป็นลักษณะของวัตถุก่อสร้างทั่วๆไปนั่นเองฟังไม่ได้ว่าทองเหลืองดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งประดับดังนี้ทองเหลืองรูปตัวทีและตัวแอลย่อมเป็นผลิตภัณฑ์โลหะอันเป็นวัตถุก่อสร้างตามหมวด4(6)แห่งบัญชีที่1ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.2517และเมื่อเป็นสินค้าตามบัญชีที่1แล้วย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา5(8)จึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ7ตามประเภทการค้า1ชนิด1(ก)ในบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ลักษณะ2แห่งประมวลรัษฎากร.