กฎหมายฎีกา ปี 2538

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2538

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 15

ขณะโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่2และที่3ล้มละลายในคดีนี้จำเลยที่2และที่3ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นไปก่อนแล้วแม้โจทก์ในคดีนี้กับโจทก์ในคดีดังกล่าวจะเป็นคนเดียวกันคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังกล่าวก็ยังมีผลอยู่และใช้ยันแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153จึงต้องจำหน่ายคดีจำเลยที่2และที่3ในคดีนี้ออกจากสารบบความตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2538

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 83, 340 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 227 วรรคหนึ่ง

จำเลยที่4ถึงที่7ร่วมกับจำเลยที่1ถึงที่3ว่าจ้างผู้เสียหายขับรถยนต์รับจ้างไปส่งที่เกิดเหตุขณะเกิดเหตุจำเลยที่3ซึ่งนั่งรวมอยู่กับจำเลยที่4ถึงที่7ด้านหลังลงมาช่วยจำเลยที่1และที่2ปลดทรัพย์ผู้เสียหายหลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่5ถึงที่7ได้ในลักษณะที่ตัวจำเลยที่5ถึงที่7เปรอะเปื้อนและเปียกส่วนจำเลยที่4ตามจับได้ตามคำซัดทอดของผู้ถูกจับได้ก่อนขณะเกิดเหตุจำเลยที่4ถึงที่7ไม่ห้ามปรามจำเลยที่1ถึงที่3ทั้งยังแยกย้ายกันหลบหนีพยานหลักฐานโจทก์ฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งหมดฟังได้ว่าจำเลยที่4ถึงที่7ร่วมกับจำเลยที่1ถึงที่3ปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2538

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 8, 14

การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนเมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์แม้จำเลยที่1มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินพอจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่1เมื่อจำเลยที่2ถูกบังคับยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้จำเลยที่2จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา8(5)การที่จำเลยที่1มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่2ล้มละลายตามมาตรา14ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2538

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 362 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 2 (4)

จำเลยเข้าไปในที่ดินของจ. แล้วปลูกมันสำปะหลังเป็นการเข้าไปเพื่อถือการครอบครองหรือกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุขย่อมเป็นความผิดฐานบุกรุกในขณะที่เริ่มเข้าไปปลูกพืชผลนั้นความผิดดังกล่าวได้เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วตั้งแต่จำเลยเข้าไปจึงเป็นการรบกวนการครอบครองโดยปกติสุขของจ. ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินต่อมาเป็นผลของการบุกรุกโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจากจ.เป็นเจ้าของหรือมีสิทธิครอบครองหลังจากการกระทำผิดฐานบุกรุกสำเร็จแล้วการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการบุกรุกที่ดินของโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2538

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 271 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 153

เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่1ธันวาคม2523โจทก์ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271แม้โจทก์จะได้ร้องขอให้บังคับคดีและยึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดเมื่อวันที่22เมษายน2526ก็เป็นขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดีแต่เมื่อเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้และโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยจึงไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2538

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 150, 224 วรรคหนึ่ง, 248 วรรคหนึ่ง, ตาราง 1 ข้อ (2)(ก), ตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (4)

ค่าเสียหายปีละ40,000บาทที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์นับแต่วันหลังจากวันฟ้องนั้นเป็นค่าเสียหายในอนาคตจะนำไปรวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค1พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งอุทธรณ์ทั้งคดีส่วนฟ้องของโจทก์และคดีส่วนฟ้องแย้งของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ฎีกาจำเลยจึงมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยอย่างละ200บาทรวมเป็น400บาทจำเลยเสียเกินมาศาลฎีกาสั่งให้คืนส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021/2538

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1367, 1374, 1381

จำเลยซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีน.ส.3ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของมาจาก ว. แล้วเข้า ยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นการ โต้แย้งสิทธิโจทก์มีลักษณะเป็นการ แย่งการครอบครองแล้วและไม่จำต้อง บอกกล่าว เปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์เพราะมิได้ครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์และก็ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องทราบว่าตนเองถูกแย่งการครอบครองหรือทราบเรื่องที่จำเลยนำรังวัดเพื่อออกน.ส.3ก.แต่อย่างใด จำเลยได้ สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์โดยการ แย่งการครอบครองโจทก์ ไม่มี หน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องจดทะเบียนแบ่งแยกให้จำเลยจึงบังคับให้ตามคำขอของจำเลยที่ขอให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1364 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142, 145

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินและให้จำเลยให้ความยินยอมในการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมจำเลยให้การว่าที่ดินตามฟ้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์จำเลยและพี่น้องร่วมบิดามารดารวมทั้งหมด5คนเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์อาจกระทบถึงสิทธิของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2538

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 350 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158 (5), 195 วรรคสอง, 225

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่1ในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา350อ้างว่าจำเลยที่1ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับนำไปขายให้แก่บุคคลอื่นเพื่อมิให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาได้รับชำระหนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลเอากับจำเลยที่1ได้มิได้บรรยายว่าจำเลยที่1ได้กระทำไปโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบของความผิดเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)และเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2538

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 801 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 60

หนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความว่าโจทก์ขอมอบอำนาจให้ม.เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดราชบุรีเป็นคดีแพ่งเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายกับทั้งมีอำนาจลงลายมือชื่อแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีในศาลแทนโจทก์ได้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดเจนให้ม. มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายต่อศาลจังหวัดราชบุรีแทนโจทก์ได้จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60เพื่อให้ม. ฟ้องคดีเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายต่อศาลจังหวัดราชบุรีแทนโจทก์ไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใดดังนั้นแม้หนังสือมอบอำนาจไม่มีข้อความระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ม. ฟ้องจำเลยที่1และที่3หรือผู้ใดแต่เมื่อมีข้อความระบุไว้แล้วว่าโจทก์มอบอำนาจให้ม. ฟ้องคดีแพ่งและเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายต่อศาลจังหวัดราชบุรีแทนโจทก์ได้ม. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์

« »