คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 39 (2), 126

จำเลยยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะสั่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และจำหน่ายคดีในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1574, 1719 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145

จำเลยที่1เป็นทายาทและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของว.ท. และส. ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์และจำเลยที่1ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยก่อนจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทจำเลยที่1ได้เรียกประชุมทายาทโดยมีจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้ง3คนและมีทายาทอื่นรวมทั้งห. ผู้แทนของโจทก์ร่วมประชุมด้วยที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการนำที่ดินพิพาทจัดการหาผลประโยชน์เข้ามากองมรดกต่อไปหลังจากมีการขายที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่1ก็ได้แบ่งปันเงินที่ได้ให้แก่ทายาทตามส่วนถือได้ว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทไปในขอบเขตอำนาจของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574มาใช้บังคับไม่ได้นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทไม่เป็นโมฆะ จำเลยที่1และที่2ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมแต่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความในคดีเมื่อจำเลยที่1และที่2ยอมโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดกแม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1719โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่1มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6600

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6600/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 26

ที่ดินของ ต.อยู่ในเขตบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด…. พ.ศ.2531 เพื่อสร้างทางสายพิเศษฯ ต.กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายและค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะถูกเวนคืนในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน โดยจำเลยตกลงจ่ายเงินค่าทดแทนตามราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่ ต.ไปก่อน ต.ไม่พอใจราคาค่าทดแทนที่จำเลยจ่ายให้ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอเพิ่มค่าทดแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ต.ให้เพิ่มเงินค่าทดแทนแก่ ต.อีกต่อมาภายหลังมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 แล้วจำเลยได้แจ้งให้ ต.ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม แต่โจทก์ในฐานะทายาทต.เห็นว่าเงินค่าทดแทนดังกล่าวยังต่ำไปจึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยเพิ่มค่าทดแทนที่ดินให้อีกตามขอซึ่งคำนวณแล้วจำเลยได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่ ต.มากกว่าราคาที่ ต.เคยอุทธรณ์ขอเพิ่มไว้และเต็มตามจำนวนที่โจทก์ขอเพิ่มค่าทดแทนในการอุทธรณ์ครั้งหลังนี้ด้วย ค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ในครั้งที่สุด จึงเป็นค่าทดแทนที่ถือได้ว่าต.เจ้ามรดกที่พิพาทพอใจแล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.ไม่มีสิทธิจะโต้แย้งคำวินิจฉัยค่าทดแทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต่อไปอีก ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6583/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 144, 148

คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจำเลยได้ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของโจทก์ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินของจำเลยเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 248

คดีที่ราคาทรัพย์สินอันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งจำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงแต่ตามคำร้องขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกาของจำเลยดังกล่าวมิได้ระบุให้ผู้พิพากษาคนใดในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค1เป็นผู้พิจารณารับรองจึงเป็นการไม่ชอบตามมาตรา248วรรคสี่ทั้งอ. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงชื่อรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงมิได้เป็นผู้นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นด้วยคำสั่งรับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 119 เดิม

โจทก์เพียงแต่ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจในช่องผู้มอบอำนาจเพียงชื่อเดียวโดยมิได้กรอกข้อความหรือยินยอมให้ผู้อื่นกรอกข้อความใดๆลงไปเมื่อมีการกรอกข้อความโดยที่มิได้รับความยินยอมจากโจทก์จึงเป็นการปลอมเอกสารหนังสือมอบอำนาจและหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินซึ่งทำขึ้นโดยอาศัยใบมอบอำนาจดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะโจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา119เดิมไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1342

หลุมส้วมอันเป็นหลุมหรือบ่อสำหรับรับน้ำโสโครกจากห้องน้ำและส้วมที่จำเลยทำขึ้นอยู่ในระยะ2เมตรจากแนวเขตที่ดินของโจทก์ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1342วรรคหนึ่งโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนหรือกลบถังส้วมและหลุมรับน้ำโสโครกนั้นได้แต่ไม่อาจจะบังคับให้รื้อถอนห้องน้ำได้เพราะการปลูกสร้างห้องน้ำมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา1342ดังกล่าวและขณะฟ้องคดีอาคารที่จำเลยปลูกสร้างยังไม่แล้วเสร็จยังไม่มีผู้ใดใช้ห้องน้ำและส้วมดังกล่าวโจทก์จึงไม่เสียหายในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 225

จำเลยที่2ไม่จำเป็นต้องลอกคำฟ้องคำให้การและทางพิจารณามาในอุทธรณ์ซ้ำอีกแต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225บัญญัติไว้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่2บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่1และที่2ว่าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน110,622บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จจำเลยที่2ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาไว้โดยชัดแจ้งเลยว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีนี้อย่างไรคงโต้แย้งแต่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในข้อที่จำเลยที่2ไม่เห็นพ้องด้วยเท่านั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่2จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 41

จำเลยที่1ใช้คำว่าเคอนิก ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่1เมื่อชื่อของจำเลยที่1ได้เพราะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่1และจำเลยที่2ให้จำเลยที่1ใช้ชื่อดังกล่าวได้ในระหว่างที่จำเลยที่2เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่2ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่1ดังนั้นเมื่อจำเลยที่2มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าดังกล่าวของจำเลยที่1แล้วจำเลยที่1ก็ไม่มีสิทธิใช้คำว่าเคอนิก(KOENIGX) เป็นชื่อของจำเลยที่1โดยชอบอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 86, 88, 142

ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เช่นได้จากหลักฐานพยานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ หรือได้จากเอกสารพยานที่มีกฎหมายบังคับให้คู่ความที่กล่าวอ้างต้องแสดงเป็นต้น ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้เช่าตามสัญญาเช่า และสัญญาครบกำหนดแล้ว จำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าจริง แต่ต่อสู้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องนำสืบถึงเอกสารสัญญาเช่า เพราะจำเลยมิได้โต้เถียงว่าสัญญาเช่านั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกาเพื่อวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ตามมาตรา 142 (5) ได้

จำเลยมีสิทธิที่จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นก็มีสิทธิที่จะพิเคราะห์ว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยเกี่ยวกับประเด็นหรือไม่ เป็นการประวิงคดีให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปอย่างชักช้าหรือไม่ ตามมาตรา 86

« »
ติดต่อเราทาง LINE