คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 79, 27
พนักงานเดินหมายได้นำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปส่งให้ม. ทนายจำเลยทั้งสองยังภูมิลำเนาแต่ไม่พบเนื่องจากสถานที่ดังกล่าวปิดประตูใส่กุญแจบุคคลข้างเคียงแจ้งว่าม.ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่อื่นแล้วพนักงานเดินหมายจึงปิดหมายไว้ตามคำสั่งศาลเห็นได้ชัดว่าม. ไม่อาจทราบนัดได้ถือว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายให้ได้โดยวิธีธรรมดาควรส่งใหม่อีกครั้งหลังจากทราบแน่ชัดว่าภูมิลำเนาของม. ยังมิได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือควรสั่งให้ประกาศหนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายธรรมดาประกอบกับยังมีตัวจำเลยทั้งสองคนศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะส่งหมายนัดให้แก่ตัวความทั้งสองทราบอีกชั้นหนึ่งด้วยดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือว่าได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันดังกล่าวและถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟังโดยชอบแล้วศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1777/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 144 วรรคสอง, 491 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 94 (ข), 237
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญาขายฝากเอกสารหมายจ.1ไม่เป็นนิติกรรมอำพรางเมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ในเรื่องนี้ไว้ข้อเท็จจริงจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงระบุกำหนดเวลาไถ่1ปีการที่จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบพยานว่าได้มีข้อตกลงให้จำเลยไถ่2ปีจึงเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) แม้สัญญาขายฝากระบุว่าขายฝากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันขายฝากโดยมิได้ระบุว่าตกลงขายฝากบ้านพิพาทไว้ในสัญญาด้วยก็ตามแต่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินบ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีที่ได้ทำสัญญาขายฝากตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้โดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา144วรรคสองจึงถือได้ว่าสัญญาขายฝากดังกล่าวเป็นการขายฝากบ้านพิพาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 224
ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ต้องถือตามราคาทรัพย์สินที่พิพาทในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นจะนำราคาทรัพย์สินที่พิพาทซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นมาคำนวณเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 169 เดิม, 193/12, 172
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่กรป.กลางตั้งขึ้นเพื่อสอบให้แน่ชัดว่าได้มีการซ่อมรถยนต์9คันกับโจทก์จริงหรือไม่นั้นเป็นเรื่องภายในของหน่วยราชการที่สังกัดจำเลยที่2แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะลงความเห็นว่าได้ว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมจริงและควรหาทางนำเงินค่าซ่อมไปชำระแก่โจทก์ตามเอกสารหมายจ.34ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะการรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้นแต่ตามเอกสารหมายจ.34ไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้รับทราบในการกระทำดังกล่าวและไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้แต่งตั้งให้กรป.กลางเป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์แม้กรป.กลางจะเป็นส่วนราชการในสังกัดของจำเลยที่2ก็มิได้หมายความว่าเป็นผู้แทนของจำเลยที่2เป็นเพียงผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้นและเปรียบลักษณะอย่างผู้ทำการแทนบริษัทกับบริษัทหาได้ไม่ เมื่อกรป.กลางเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่2ซึ่งจะต้องปฎิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่2มอบหมายโดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอกกรป.กลางย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายต้องให้จำเลยที่2เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอกหรือให้กรป.กลางเป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2ดังนี้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องแก่จำเลยที่2ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จจึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่2ได้ตั้งแต่วันดังกล่าวและอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้นแต่โจทก์รีรอฟังผลจากกรป.กลางเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด2ปีนับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้วจึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 148, 289
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีแพ่งเรื่องอื่นให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆย่อมเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วยวิธีการเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289ดังนั้นคู่ความในคดีดังกล่าวกับคดีนี้จึงเป็นคู่ความรายเดียวกันและเมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นนั้นถึงที่สุดแล้วและมูลหนี้กับหลักประกันคือสัญญาจำนองที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ก็เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของโจทก์ในคดีดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5529/2539
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ม. 4
การที่จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งจำนวนเงินส่วนหนึ่งในเช็คเป็นการชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมายและจำนวนเงินอีกส่วนหนึ่งเป็นการชำระหนี้ในจำนวนเงินที่ต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยในเช็คฉบับเดียวกันและไม่อาจแบ่งแยกกันได้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 132 เดิม, 361, 368
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง. ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศเป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้วการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้และขอให้โจทก์นำเอกสารต่างๆพร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้นถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั่งหนึ่งก่อนดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วแม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้ สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ2ว่าบริษัทง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล"ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณีๆไปและในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้เช่นได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้วหรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสนอแม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ประกาศของจำเลยข้อ2นี้จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด ตามประกาศของจำเลยข้อ3มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ยกับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปีภายในระยะเวลาไม่เกิน10ปีจะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ10ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินจนกว่าจะครบจำนวนดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆตามประกาศดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับละ500,000บาทปีละ4ฉบับมีกำหนดเวลา10ปีโดยไม่มีดอกเบี้ยสำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน4ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่10มิถุนายน2530แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้และให้โจทก์นำเอกสารต่างๆไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยโจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่างๆไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่24กุมภาพันธ์2532จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่28กุมภาพันธ์2532จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้4ฉบับแรกฉบับละ500,000บาทโดยไม่มีดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่1มีนาคม2532เป็นต้นไปและทุกวันที่1มีนาคมของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 110 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55
มูลนิธิโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าซึ่งเป็นของโจทก์ โดยโจทก์ต้องการนำที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งห้องเช่านั้นไปสร้างศูนย์การค้า ถือได้ว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ทั้งไม่เป็นการกระทำเพื่อหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลอื่นใด หรือหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 โจทก์ชอบที่จะกระทำได้เพื่อที่จะหาผลประโยชน์ไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโจทก์นั่นเอง จึงไม่ได้เป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2539
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ม. 10 พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม. 44
สารวัตรกำนันมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยและรับใช้สอบกำนันตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457มาตรา44เท่านั้นมิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายจึงไม่อาจเพิ่มโทษเป็นจำนวนสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 174, 176, 192 วรรคท้าย
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา174เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่และต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ฟังได้โดยปราศจากความสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงการที่จำเลยตอบคำถามค้านว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นอาวุธปืนไม่มีทะเบียนจะถือเท่ากับว่าเป็นคำรับสารภาพตามมาตรา176หาได้ไม่เมื่อโจทก์ไม่สืบก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ความผิดฐานพยายามฆ่ารวมการกระทำฐานทำร้ายร่างกายอยู่ด้วยศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามที่พิจารณาได้ความได้