คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797 - 3798/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 57 (1), 57 (2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 2 (4), 15, 30, 31 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 27, 32 พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 ม. 6, 7, 8, 9

การกระทำผิดฐานใช้เรือบรรทุกน้ำมันดีเซลซึ่งผลิตในต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรและโดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเสียภาษีอากรขาเข้าสำหรับของดังกล่าวตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา27,32เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐและรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายส่วนผู้ร้องเป็นเจ้าพนักงานผู้จับและมีสิทธิเพียงได้รับเงินรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพ.ศ.2489มาตรา6,7,8และ9ผู้จับมิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดตามฟ้องผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา2(4)แม้ผู้ร้องจะมีส่วนได้เสียในคดีโดยหากโจทก์ชนะคดีผู้ร้องจะได้รับเงินบำเหน็จรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดก็ดีและหากโจทก์แพ้คดีผู้ร้องจะไม่ได้รับบำเหน็จรางวัลก็ดีการที่ผู้ร้องจับจำเลยทั้งสามเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกเจ้าของเรือของกลางซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสามฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาก็ดีแม้ข้อเท็จจริงจะเป็นตามที่ผู้ร้องอ้างแต่ปัญหาเรื่องการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญานั้นมีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา30และ31เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นนอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้วการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่อาจจะมีได้ดังนั้นเมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้วผู้ร้องซึ่งมิใช่ผู้เสียหายจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา57(1)(2)ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้บัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะแล้วผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 386, 391, 573, 574, 900 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 172, 183, 226, 240, 249 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ม. 7, 10

คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่ได้คัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าจำเลยได้สละประเด็นแห่งคดีตามข้อต่อสู้ดังกล่าวแล้ว ที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความโจทก์ได้กรอกข้อความลงในเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้เงินดาวน์และเงินค่างวดแก่โจทก์ในภายหลังเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัย รถดั๊มที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน จำเลยยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ครบถ้วนรถดั๊มจึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522ที่บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะนำรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนั้นได้ แสดงว่าเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนรถและตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนรถฝ่ายใดจะต้องรับผิดชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถจากจำเลยแล้วทั้งข้อความในใบสั่ง>ขายที่ระบุในช่องค่าทะเบียนว่า "จดเอง" ดังนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถจะต้องเป็นผู้จดทะเบียนรถเองโดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โจทก์มีภูมิลำเนา ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม)ใช้บรรทุกเทของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้น แต่เมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามาผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ประกอบ มาตรา 537และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยได้นำรถที่เช่าซื้อไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลย โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยายโดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อและผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว และโจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลยการที่จำเลยออกเช็คพิพาทผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์แม้ต่อมาเช็คพิพาทขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ยอมให้ใช้รถดั๊มที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยต้องใช้เงินตามมูลค่าแห่งการนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 694, 1754

ผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมในสัญญาของลูกหนี้เพียงแต่ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้เท่านั้น แต่ผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694เมื่อสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อกองมรดกของลูกหนี้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วผู้ค้ำประกันย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้

เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้อันเนื่องมาจากการเลิกสัญญา แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องทายาทของลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 224, 383 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 84, 142, 172, 177

คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า กรรมการผู้มีอำนาจสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนและผูกพันโจทก์ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 โดยโจทก์แนบสำเนาหนังสือรับรองมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง หนังสือรับรองดังกล่าวสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ออกให้และปรากฏชื่อ ธ.กับว. รวมอยู่ในรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทด้วยและโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อตามหนังสือมอบอำนาจท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องเพียงว่า สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองของบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 ไม่ใช่ต้นฉบับของทางราชการ หรือมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ และหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 เป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้คำให้การของจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงเรื่องกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องว่ามิได้เป็นไปตามเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยยกเหตุที่หนังสือรับรองอำนาจกรรมการบริษัทโจทก์เป็นเพียงสำเนาที่ไม่มีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ ซึ่งไม่เกี่ยวกับข้อต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และศาลอุทธรณ์นำหนังสือรับรองตามเอกสารหมาย จ.1 ไปเปรียบเทียบกับหนังสือรับรองอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อกับลูกค้าแทนบริษัทโจทก์ได้แล้ววินิจฉัยว่าขณะยื่นคำฟ้อง กรรมการบริษัทโจทก์คนหนึ่งไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ จำนวนกรรมการและรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ตามต้นฉบับหนังสือรับรองตรงกับสำเนาหนังสือรับรองตามเอกสารท้ายฟ้องเมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าขณะยื่นคำฟ้องอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์มีอยู่จริงและการมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามฟ้อง จำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้มีสามกรณี คือค่าขาดประโยชน์ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนที่โจทก์จะยึดรถคืนค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถยนต์ กับค่าเสียหายเพราะเหตุอื่นอันผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบเนื่องจากการผิดสัญญาโดยทั่วไป เพราะเมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อและยึดรถยนต์ที่เช่าคืนมาแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ การที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าราคาที่ได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไม่พอชำระหนี้ต่าง ๆ ที่ผู้เช่าต้องรับผิดตามสัญญานี้ผู้เช่าซื้อ ตกลงยินยอมที่จะชำระเงินที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่เจ้าของจนครบมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์ขอมาสูงเกินไปศาลก็ชอบที่จะลดลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 การที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายโดยไม่ได้แยกว่าส่วนใดโจทก์ลดลงมาเท่าใด แม้ว่าเป็นการนำสืบที่ไม่ชัดแจ้งแต่ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดค่าเสียหายให้ชดใช้ตามที่เห็นสมควรได้สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องมาอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนถูกต้องตามจำนวนและกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้เจ้าของคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่เมื่อค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อและค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ไม่ได้ราคาเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหลังจากหักเงินที่โจทก์รับไว้แล้ว ตลอดจนค่าติดตามยึดรถคืนไม่ใช่ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามสัญญาดังกล่าว เป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญา จึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในจำนวนเงินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 นับถัดจากวันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 94

จำเลยให้การว่า มีหญิงชายคู่หนึ่งมาหลอกเอาเงินโจทก์จำเลยไป โจทก์กลัวว่าสามีโจทก์รู้แล้วจะด่าว่าและทำร้าย โจทก์จึงนำสัญญากู้ซึ่งเขียนเสร็จแล้ว มาให้จำเลยลงลายมือชื่อเพื่อโจทก์จะนำสัญญากู้ไปหลอกสามีว่าจำเลยกู้เงินไป ซึ่งความจริงจำเลยไม่เคยได้รับเงินตามสัญญา เช่นนี้จำเลยมีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย เพราะเป็นการนำสืบมูลเหตุที่ทำสัญญาเพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่มีมูลหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ และหนี้เงินกู้ไม่สมบูรณ์เพราะโจทก์ไม่ได้ส่งมอบเงินที่กู้ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 150, 898, 900 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ม. 6, 7

โจทก์เป็นนายวงแชร์ที่จัดให้มีการเล่นแชร์โดยมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันมากกว่าสามแสนบาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการแชร์พ.ศ.2534มาตรา6(3)และตามพระราชบัญญัติดังกล่าวคงมีบทบัญญัติตามมาตรา7เท่านั้นที่ให้สิทธิแก่ฝ่ายสมาชิกวงแชร์ฝ่ายเดียวที่จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่กระทำการฝ่าฝืนมาตรา6โดยมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ฝ่ายนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะมีการฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับสมาชิกวงแชร์แต่อย่างใดย่อมแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการเล่นแชร์พ.ศ.2534ว่าไม่ประสงค์ที่จะให้นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งเอากับสมาชิกวงแชร์ที่กระทำการฝ่าฝืนมาตรา6การที่โจทก์เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ดังนั้นเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้ก่อนที่แชร์วงนั้นจะเลิกจึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้มาจากการเล่นแชร์ที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 23, 46 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 15

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์วันที่5มีนาคม2539โจทก์ยื่นคำร้องขอถ่ายคำเบิกความพยานและคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้นศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตวันที่15เดือนเดียวกันวันที่4เมษายน2539โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์30วันโดยอ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับเอกสารที่ขอถ่ายศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์วันที่23เดือนเดียวกันซึ่งเมื่อนับแต่วันพิพากษาถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ของระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้มีเวลาถึงประมาณ50วันโจทก์มีอาชีพเป็นทนายความสามารถทำอุทธรณ์ได้เองและยังแต่งตั้งทนายความอีกคนหากโจทก์หรือทนายโจทก์ตั้งใจจริงย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดทั้งรูปคดีไม่สลับซับซ้อนการที่โจทก์ปล่อยปละละเลยจนกระทั่งถึงวันครบกำหนดอุทธรณ์ที่ขยายให้แล้วจึงมายื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก10วันโดยอ้างเหตุว่านับแต่ต้นเดือนเมษายน2539มีวันหยุดราชการและวันหยุดตามประเพณีหลายวันพนักงานพิมพ์ดีดและพนักงานอื่นในสำนักงานของโจทก์ขอลาหยุดต่อเนื่องกันหลายวันทำให้คดีที่จะต้องเตรียมและจัดพิมพ์ค้างอยู่หลายคดีเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างลอยๆแม้ไม่มีพนักงานพิมพ์ดีดพิมพ์อุทธรณ์ให้โจทก์ก็สามารถเขียนด้วยหมึกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสองกรณีของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 166, 181

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานที่ส่งหมายยังเป็นข้อโต้แย้งกันอยู่ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอันที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์หรือไม่หากฟังว่าโจทก์ไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานดังกล่าวกรณีก็ไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ภายใน15วันนับแต่วันที่ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา166วรรคสองประกอบมาตรา181ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องโจทก์โดยถือว่าโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วและการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่โดยมิได้ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 57 (1), 57 (2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 2 (4), 15, 30, 31 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 27, 32 พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 ม. 6, 7, 8, 9

การกระทำผิดฐานใช้เรือบรรทุกน้ำมันดีเซลซึ่งผลิตในต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรและโดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเสียภาษีอากรขาเข้าสำหรับของดังกล่าวตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27,32เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ และรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายส่วนผู้ร้องเป็นเจ้าพนักงานผู้จับและมีสิทธิเพียงได้รับเงินรางวัล ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพ.ศ. 2489 มาตรา 6,7,8 และ 9 ผู้จับมิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดตามฟ้อง ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)แม้ผู้ร้องจะมีส่วนได้เสียในคดี โดยหากโจทก์ชนะคดีผู้ร้องจะได้รับเงินบำเหน็จรางวัลตาม พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดก็ดี และหากโจทก์แพ้คดีผู้ร้องจะไม่ได้รับบำเหน็จรางวัลก็ดี การที่ผู้ร้องจับจำเลยทั้งสามเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกเจ้าของเรือของกลางซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสามฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาก็ดี แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นตามที่ผู้ร้องอ้าง แต่ปัญหาเรื่องการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญานั้นมีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 และ 31เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้วการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่อาจจะมีได้ ดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ผู้ร้องซึ่งมิใช่ผู้เสียหายจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้ และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 57(1)(2) ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้บัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 264

โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการจัดสรรที่ดินที่ถือสิทธิรวมกันแบ่งขายเอากำไรสุทธิมาแบ่งกันคนละครึ่งขอให้ศาลบังคับให้จำเลยแบ่งเงินกำไรสุทธิให้แก่โจทก์เมื่อได้ความว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงกันในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าให้ผู้จัดการธนาคารม.เป็นผู้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของจำนวน110แปลงจำเลยมีสิทธิขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจากผู้จัดการธนาคารเท่าที่จำเป็นตามที่ลูกค้ามาขอรับโอนสิทธิครอบครองเมื่อจำเลยได้รับเงินค่าที่ดินจากลูกค้าแล้วต้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคารม. ต่อมาจำเลยขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากผู้จัดการธนาคารไปจำนวน66แปลงและจำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้ลูกค้าไปจำนวน36แปลงโดยจำเลยได้รับเงินจำนวน3,465,000บาทซึ่งจำเลยต้องนำเงินดังกล่าวไปเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ตกลงไว้กับโจทก์แต่จำเลยนำเข้าบัญชีเพียงบางส่วนทั้งยังได้ถอนเงินออกไปคงเหลือเพียง9,000บาทปัจจุบันมีเงินในบัญชีเพียง3,000บาทจำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้เป็นไปตามข้อตกลงแม้เงินดังกล่าวมิใช่เป็นเงินกำไรสุทธิที่จะนำมาแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งแต่เมื่อโจทก์มีคำร้องขอให้นำเงินจากการขายที่ดินครึ่งหนึ่งมาวางไว้ต่อศาลในระหว่างการพิจารณามิใช่นำมาแบ่งให้แก่โจทก์แต่อย่างใดดังนี้กรณีมีเหตุที่จะนำวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณามาใช้ตามที่โจทก์ขอ

« »
ติดต่อเราทาง LINE