คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 1375, 1381 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 183
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านและที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยและจำเลยร่วมให้การว่า เมื่อโจทก์มาพูดขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาท จำเลยและบริวารไม่ยอมออกอ้างว่า บ้านและที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลย และให้การตัดฟ้องโจทก์ว่า โจทก์มิได้ฟ้องคดีซึ่งมีการแย่งการครอบครองภายใน 1 ปี จำเลยจึงได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายดังนี้ถือได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวต่อโจทก์แล้ว จึงเป็นประเด็นโดยตรงในคดีที่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
เมื่อโจทก์บอกจำเลยว่าได้ซื้อบ้านและที่ดินพิพาทไว้แล้ว ให้จำเลยกับบริวารออกไปจากบ้านและที่ดินพิพาท จำเลยไม่ยอมออกโดยบอกโจทก์ว่าไม่มีที่จะไป แล้วจำเลยคงอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทต่อมา คำพูดของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการบอกกล่าวว่าไม่เจตนาจะยึดถือบ้านและที่ดินรายพิพาทแทนโจทก์ต่อไป อันเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 การที่จำเลยอาศัยอยู่ต่อมาเป็นการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนด 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3976/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 88, 112, 1285 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55
เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของสมาคมและมูลนิธิผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนคือผู้จัดการสมาคมและมูลนิธิซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลกรรมการสมาคมและมุลนิธิไม่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดี การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรมเพราะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา112หากแต่เป็นกรณีที่ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่แล้วและถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55ดังนั้นแม้ตราสารของมูลนิธิจะให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการของมูลนิธิทำนิติกรรมของมูลนิธิได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3943/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 62 วรรคแรก ประมวลกฎหมายที่ดิน ม. 9, 108 ทวิ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ม. 54, 72 ตรี
มีระเบียบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดว่าการขุดดินลูกรังจะต้องขออนุญาตต่อนายอำเภอและต้องชำระค่าตอบแทนการอนุญาตจำเลยทำสัญญารับจ้างขุดขนดินลูกรังให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยกรอกข้อความยินยอมชำระค่าตอบแทนการอนุญาตตามมาตรา9แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไว้ท้ายประกวดราคาทั้งผู้ที่ทำสัญญารับจ้างเช่นนี้ในครั้งก่อนๆไม่เคยขออนุญาตการที่จำเลยสั่งให้คนงานไปขุดและขนลูกรังไปกองไว้ตามสัญญาโดยมิได้ขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ตามระเบียบโดยเข้าใจว่าการที่จำเลยเข้าทำสัญญารับจ้างขุดและขนลูกรังให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นการได้รับอนุญาตให้ขุดลูกรังได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตอีกกรณีเป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา62วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3619/2529
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 13, 20 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
จำเลยสั่งให้ลูกจ้างทั้งหมดหมุนเวียนกันหยุดงานเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นสัปดาห์ละ2-3วันในช่วงที่ธุรกิจการทอผ้าของจำเลยประสบภาวะขาดแคลนงานให้ลูกจ้างทำเพราะขาดวัสดุและงานที่ผลิตได้จำหน่ายไม่ออกทำให้ประสบปัญหาขาดทุนและโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยก็ได้ผลัดเปลี่ยนกันหยุดงานตามคำสั่งของจำเลยดังกล่าวมาแล้วเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์จนกระทั่งมีวันหยุดทำงานในช่วงระยะเวลาดังกล่าวประมาณคนละ10วันโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของจำเลยจึงถือว่าโจทก์ได้ยินยอมโดยปริยายแล้วดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างในวันที่หยุดงานดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3074/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 72, 295, 391
จำเลยชกต่อยผู้เสียหายที่บริเวณหน้าอกหลายครั้งแพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียหายแล้วไม่พบบาดแผลและไม่มีรอยพกช้ำเพียงแต่ผู้เสียหายบอกว่าเจ็บที่หน้าอกเวลากดแพทย์จึงมีความเห็นว่ากล้ามเนื้อที่หน้าอกช้ำรักษาประมาณ5วันหายลักษณะบาดแผลเช่นนี้ยังไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา295การกระทำของจำเลยเป็นเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา391เท่านั้น การที่ม.พี่ของจำเลยทราบจากคนอื่นพูดกันว่าผู้เสียหายพูดจาดูหมิ่นมารดาของจำเลยเมื่อพบผู้เสียหายม.จึงเข้าไปสอบถามแล้วทันใดนั้นจำเลยก็เข้ามาชกต่อยผู้เสียหายทันทีโดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้พูดจาดูหมิ่นมารดาจำเลยในขณะเกิดเหตุกรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำไปเพราะบันดาลโทสะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 4112/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 197, 209
จำเลยและพยานมาถึงศาลในวันสืบพยานก่อนเวลานัดของศาลโดยนั่งรออยู่นอกห้องพิจารณาทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ได้เรียกจำเลยเข้าห้องพิจารณาแต่จำเลยจงใจขัดขืนไม่เข้าห้องพิจารณาจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาคดีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 4099/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 96, 326 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 22 พระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 ม. 3
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้นอาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกล่าวคือถ้ายังโต้เถียงว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใดย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหากข้อเท็จจริงที่ได้ความยุติแล้วว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใดและคู่ความโต้เถียงกันเพียงว่าอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดแล้วย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่20ธันวาคม2526แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่23เมษายน2527ซึ่งเป็นเวลาเกิน3เดือนนับแต่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีจึงเป็นอันขาดอายุความอันเป็นการยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงคดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา22ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ.2520มาตรา3โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 4094/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 80, 90, 91, 277, 279
จำเลยอายุ28ปีผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ9ปีจำเลยใส่อวัยวะเพศของจำเลยไปที่ช่องขาตรงปากช่องคลอดและกระทำการในลักษณะของการกระทำชำเรามีรอยแดงช้ำบริเวณรอบๆช่องคลอดการกระทำของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายแล้วแต่อวัยวะเพศของจำเลยไม่ได้เข้าไปในช่องอวัยวะเพศของผู้เสียหายคงอยู่ที่บริเวณปากช่องคลอดของผู้เสียหายเท่านั้นดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา การที่จำเลยได้กระทำอนาจารโดยกอดจูบผู้เสียหายที่เตียงแล้วต่อมาจำเลยได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหายที่ห้องน้ำนั้นเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันโดยความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 4085/2529
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 20
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงตามสัญญาและข้อบังคับของจำเลยมิได้มีข้อกำหนดว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงจะทำการสมรสมิได้หรือหากตั้งครรภ์ต้องออกจากงานการที่จำเลยได้ออกข้อบังคับในเวลาต่อมาว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงเมื่อตั้งครรภ์แล้วให้ออกจากงานเป็นการเพิ่มเหตุให้ออกจากงานไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างในตำแหน่งนี้จำเลยออกข้อบังคับมาเองโดยมิได้มีข้อเรียกร้องของฝ่ายใดจึงไม่อาจใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา20เมื่อระหว่างเป็นลูกจ้างในตำแหน่งดังกล่าวโจทก์ทำการสมรสและต่อมาตั้งครรภ์จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3931/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1639 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 87 (2), 88, 142 (2), 226, 249
จำเลยยื่นบัญชีพยานจำเลยในวันสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนบัญชีพยานดังกล่าวอ้างตัวจำเลยทั้งสามซึ่งแม้เป็นกรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การกฎหมายก็ยังให้จำเลยเบิกความเป็นพยานตนเองได้และปรากฏตามคำร้องของจำเลยว่าเหตุที่ไม่ได้ยื่นบัญชีพยานตามกำหนดเพราะทนายจำเลยติดการประชุมสภาจังหวัดการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีพยานโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสามจึงชอบแล้ว จำเลยยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วโดยอ้างว่ายังบกพร่องอยู่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตโจทก์แถลงคัดค้านแต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบเพิกถอนคำสั่งแล้วสั่งใหม่ว่าสำเนาให้โจทก์โจทก์แถลงคัดค้านเมื่อศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตใหม่โจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งนี้ไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นหลานเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาโจทก์เจ้ามรดกมีที่ดิน3แปลงได้ยกให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตายโจทก์ครอบครองตลอดมาเกินกว่า10ปีแล้วจำเลยที่1ที่2โอนที่ดินทั้ง3แปลงแก่จำเลยที่3ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้ง3แปลงเป็นของโจทก์และเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยเมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าที่ดินทั้ง3แปลงเป็นมรดกและเจ้ามรดกมิได้ยกให้โจทก์แต่โจทก์เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาโจทก์ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยเฉพาะส่วนที่โจทก์มีสิทธิรับมรดกและให้โอนที่ดินที่เพิกถอนนั้นแก่โจทก์.