คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 4071/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 23, 156
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาและมีคำสั่งว่าหากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลภายใน7วันจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตวางเงินค่าธรรมเนียมภายหลังสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอ้างว่าไม่สามารถนำเงินมาวางศาลภายในกำหนดได้เพราะเป็นเงินจำนวนมากจำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่รู้กฎหมายดังนี้ไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยศาลไม่อาจขยายเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 4057 - 4062/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 22
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญารวมเจ็ดสำนวนศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทุกสำนวนและให้นับโทษต่อกันตามลำดับสำนวนทุกสำนวนเช่นนี้จำเลยจะขอให้ศาลหักวันต้องขังให้จำเลยในแต่ละสำนวนทั้งเจ็ดสำนวนไม่ได้เป็นการขัดกับความจริงและทำให้จำเลยได้รับโทษจำคุกไม่เป็นไปตามคำพิพากษาเพราะจำเลยถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาตามหมายของศาลฉบับเดียวเท่านั้นและศาลชั้นต้นก็ได้ออกหมายจำคุกนับตั้งแต่วันที่จำเลยถูกคุมขังเป็นต้นไปซึ่งเท่ากับหักวันที่จำเลยถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา22แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 350 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 35, 39
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ขอถอนฟ้อง เมื่อเป็นความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ย่อมถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุด เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3981/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 278 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 39 (2)
บันทึกข้อตกลงไม่มีข้อความใดแสดงว่าฝ่ายผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันทีแต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อฝ่ายผู้เสียหายเสียก่อนกล่าวคือจำเลยต้องชำระเงินให้แก่ผู้เสียหายตามข้อตกลงเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระเงินให้ฝ่ายผู้เสียหายข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันผู้เสียหายให้เลิกคดีอาญากรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3925/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 119, 453, 1299, 1336
จำเลยที่1จดทะเบียนรับซื้อที่ดินจากผู้ที่ปลอมชื่อเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งลักโฉนดที่ดินมาจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงแล้วจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวกับจำเลยที่2ดังนี้จำเลยที่1ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์นิติกรรมซื้อขายเกิดจากการทุจริตโดยโจทก์ไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยเป็นการสำคัญผิดในตัวบุคคลอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา119ถือเสมือนว่าไม่มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นแม้การซื้อขายจะทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และจำเลยที่1ได้เสียค่าตอบแทนโดยสุจริตจำเลยที่1ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 4054/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90, 91, 341
คดีฉ้อโกงโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในการหลอกลวงบริษัทผู้เสียหายและได้รับสินค้าจากผู้เสียหายไปในแต่ละวันหรือแต่ละครั้งรวม48ครั้งไว้ชัดแจ้งจำเลยให้การรับสารภาพการกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดสำเร็จเมื่อผู้เสียหายส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยโดยหลงเชื่อคำหลอกลวงของจำเลยแต่ละครั้งไปจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978 - 3979/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 225 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ทั้งสองมีกัญชาไว้ในความครอบครองและสูบกัญชานั้นโดยผิดกฎหมายยังไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้กระทำโดยจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่ากรณีดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรงซึ่งจำเลยไม่จำต้องมีข้อบังคับระบุลงโทษไว้นั้นจำเลยให้การต่อสู้คดีเพียงว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างอันเป็นกรณีร้ายแรงมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การด้วยว่าเป็นกรณีไม่จำต้องมีข้อบังคับระบุลงโทษจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3969/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 154, 223, 572 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในระหว่างผ่อนชำระค่าเช่าซื้อจำเลยที่2ได้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1ขึ้นโดยมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีวัตถุประสงค์ซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์เช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ซึ่งต่อมาได้มีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังจากนั้นห้างจำเลยที่1ได้มีหนังสือทวงถามค่าเช่าซื้อรถยนต์และรับชำระหนี้จากโจทก์โดยตามเอกสารใบแจ้งหนี้ที่หัวกระดาษมีข้อความระบุชื่อห้างจำเลยที่1และได้ระบุชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ในวงเล็บต่อท้ายด้วยดังนี้ฟังได้ว่าห้างจำเลยที่1ได้รับโอนกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดน.โจทก์มีอำนาจฟ้องห้างจำเลยที่1ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ได้ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวม20งวดเป็นรายเดือนทุกเดือนถ้าหากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีแต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดทุกงวดแต่จำเลยก็ไม่เคยใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้และดอกเบี้ยที่ค้างเลยแสดงว่าการชำระหนี้รายนี้ฝ่ายจำเลยมิได้เจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาโดยเคร่งครัดซึ่งเท่ากับเป็นการสละเงื่อนเวลาอยู่ในตัวดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วจำเลยจะมาขอคิดดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มภาระให้โจทก์ภายหลังไม่ได้จำเลยจึงต้องโอนรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยอีกต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3967/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90, 91, 341 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158, 193 ทวิ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ม. 3
โจทก์ฟ้องข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497มาตรา3ในเช็คแต่ละฉบับเป็นความผิดแต่ละกระทงเรียงกันไปการพิจารณาว่ากระทงใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ต้องพิจารณาถึงจำนวนเงินที่ระบุในเช็คแต่ละฉบับว่าหากศาลลงโทษปรับสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้วเกินกว่าหกหมื่นบาทหรือไม่ถ้าไม่เกินกว่าหกหมื่นบาทเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องกรณีก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ทวิที่แก้ไขแล้วจะนำจำนวนเงินตามที่ระบุในเช็คฉบับอื่นแม้จะลงวันสั่งจ่ายวันเดียวกันมารวมคำนวณด้วยหาได้ไม่ ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ทวิที่แก้ไขแล้ว โจทก์ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเช็คที่นำมาฟ้องเป็นจำนวนหลายสิบฉบับและได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าเช็คแต่ละฉบับนั้นเป็นของธนาคารใดพร้อมกับระบุสาขาของธนาคารอันถือว่าเป็นสถานที่ที่เกิดการกระทำความผิดเนื่องจากธนาคารแห่งนั้นปฏิเสธการจ่ายเงินไว้ด้วยจึงหาจำเป็นที่จะต้องระบุแขวงและเขตอีกไม่การที่โจทก์นำเอาชื่อแขวงและเขตที่เกิดการกระทำความผิดไปกล่าวรวมไว้ในตอนท้ายเพื่อบอกสถานที่เกิดเหตุย่อมเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 204, 224 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์
เงินโบนัสปกติมิใช่เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงานจำเลยเรียกเก็บ จึงเป็นการเรียกเก็บ โดยมิชอบ แต่โจทก์ก็จำต้องชำระเพื่อไม่ให้ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จึงทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากเงินที่ได้ชำระให้จำเลย ไปตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถือว่าจำเลย เมื่อจะต้องคืนเงินดังกล่าว จึงต้องเสียดอกเบี้ย นับแต่วันที่รับเงินไว้