คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 204, 224 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์

เงินโบนัสปกติมิใช่เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงานจำเลยเรียกเก็บ จึงเป็นการเรียกเก็บ โดยมิชอบ แต่โจทก์ก็จำต้องชำระเพื่อไม่ให้ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จึงทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากเงินที่ได้ชำระให้จำเลย ไปตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถือว่าจำเลย เมื่อจะต้องคืนเงินดังกล่าว จึงต้องเสียดอกเบี้ย นับแต่วันที่รับเงินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 4015/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 15, 166 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 132 (1)

ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องโดยให้โจทก์นำส่งหมายนัดภายใน7วันทนายโจทก์ทราบนัดแล้วครั้นถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ไม่มาศาลโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดีศาลจึงสั่งให้ยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา166ต่อมาในวันเดียวกันนั้นเจ้าพนักงานศาลรายงานให้ศาลทราบว่าโจทก์มิได้ดำเนินการส่งหมายนัดให้จำเลยตามคำสั่งศาลขั้นตอนของการดำเนินกระบวนพิจารณาได้ล่วงเลยมาถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วจึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(1)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15อีกกรณีมิได้เป็นการข้ามขั้นตอนและมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 15 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 173 วรรคสอง (1)

โจทก์เคยฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คฉบับเดียวกันในมูลคดีและข้อหาเดียวกันกับที่ฟ้องคดีนี้ก่อนฟ้องคดีนี้1วันเมื่อคดีแรกยังอยู่ในระหว่างพิจารณาศาลยังไม่ได้พิพากษาฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15ไม่ต้องพิจารณาว่าต่อมาศาลชั้นต้นจะพิพากษาหรือสั่งในคดีแรกนั้นเป็นอย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55

โจทก์ยื่นฟ้องผู้จัดการและสมุหบัญชีธนาคารสาขาเป็นจำเลยที่2และที่3โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของธนาคารจำเลยที่1ดังนี้เป็นการฟ้องตัวบุคคลธรรมดาที่มีตัวอยู่แน่นอนแล้วไม่ใช่เป็นการฟ้องตำแหน่งซึ่งไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 175 (2)

การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลแม้จำเลยคัดค้านศาลก็อนุญาตให้ถอนฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3993/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 200, 201

ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้เพราะหมายนัดระบุที่อยู่ของจำเลยโดยไม่ได้ระบุว่าอยู่ถนนใดเจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์จึงรายงานการส่งหมายว่าหมายนัดระบุที่อยู่ของจำเลยไม่ชัดเจนและออกติดตามหาจำเลยแล้วไม่มีผู้ใดรู้จักในชั้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หมายนัดก็ระบุแต่ชื่อและที่อยู่ของจำเลยโดยไม่ได้ระบุว่าอยู่ถนนใดเช่นกันแต่ก็ปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดให้จำเลยได้โดยจำเลยรับไว้เองเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้นั้นเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบหรือจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา201การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยเพื่อแก้นั้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา200.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3990/2529

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ม. 42 ประมวลกฎหมายที่ดิน ม. 9, 108 ทวิ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158, 162 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96

ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96ลงวันที่29กุมภาพันธ์2515มิได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา42ซึ่งบัญญัติว่า'บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ' โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมือปีพ.ศ.2525ถึงวันที่25กันยายน2527เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกันจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดถือว่าฟ้องโจทก์มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจำเลยจึงให้การรับสารภาพฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่ ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจสอบสวนและฟ้องคดีด้วยเหตุที่จำเลยยังทูลเกล้าฯถวายฎีกาอยู่ทั้งจำเลยก็ได้ให้การรับสารภาพตามฟ้องซึ่งรวมตลอดถึงว่าคดีมีการสอบสวนโดยชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985 - 3987/2529

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 93, 121

ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้เลือกตั้งผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงานแม้จะยังมิได้มีการแจ้งจดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็ตามผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา121แล้วความคุ้มกันประการใดที่มาตราดังกล่าวบัญญัติไว้เพื่อปกป้องกรรมการสหภาพแรงงานความคุ้มกันนั้นๆย่อมตกแก่กรรมการสหภาพแรงงานผู้ได้รับเลือกตั้งนั้นทุกอย่างทุกประการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3974/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 456, 1367, 1369, 1382

ผู้ร้องซื้อที่พิพาทมีโฉนดจากป.เมื่อป.รับชำระราคาแล้วก็มอบที่พิพาทให้ผู้ร้องเข้าครอบครองปลูกบ้านอยู่โดยสัญญาว่าจะไปทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วแต่ป.เป็นลมถึงแก่กรรมเสียก่อนเมื่อผู้ร้องครอบครองที่พิพาทมาด้วยความสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่าสิบปีผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1566, 1567 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 183

บุตรโจทก์เกิดกับท. สามีซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสท.ตายแล้วแม้โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้บุตรอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยแต่อำนาจปกครองก็ยังคงอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเมื่อโจทก์ประสงค์จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรเองย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรกรณีไม่จำต้องพิจารณาว่าได้มีการผิดข้อตกลงกันหรือไม่.

« »
ติดต่อเราทาง LINE