คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3963/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 326, 331
จำเลยในฐานะคู่ความคดีอื่นได้ยื่นคำร้องอันเป็นมูลให้ถูกฟ้องคดีนี้ไว้ในคดีนั้นแม้จะมีถ้อยคำกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีแต่ก็เป็นข้อความที่จำเลยยื่นต่อศาลเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา331จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3960/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 83, 84, 265 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 192, 222
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะข้อกฎหมายในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา222 บัตรประจำตัวประชาชนของกลางเป็นเอกสารปลอมเกิดขึ้นเพราะจำเลยเป็นผู้ดำเนินเรื่องโดยจำเลยเป็นต้นตอและให้ความร่วมมือจำเลยจึงอยู่ในฐานะทั้งผู้ก่อและร่วมมือกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารดังกล่าวดังนี้จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นปลอมเอกสารและเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารนั้นด้วยความผิดฐานก่อให้ผู้อื่นปลอมเอกสารจึงเกลื่อนกลืนเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นปลอมเอกสารศาลฎีกาลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นปลอมเอกสารแต่เพียงบทเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3957/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 326, 328
จำเลยกล่าวต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าก่อนมีการประชุมคณะกรรมการพนักงานของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์จำเลยโจทก์เข้าไปพบจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ในขณะนั้นโจทก์ได้ต่อว่าจำเลยเรื่องการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนมีการโต้เถียงกันและโจทก์แสดงกิริยาไม่เหมาะสมโดยยืนเท้าโต๊ะทำกิริยาเหมือนขู่ตะคอกและเหมือนกับจะทำร้ายจำเลยนั้นแม้จะรับฟังว่าจำเลยกล่าวข้อความต่อคณะกรรมการดังกล่าวก็ตามก็เป็นแต่เพียงทำให้เห็นว่าโจทก์บันดาลโทสะที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากจำเลยในการพิจารณาเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์จึงเข้าไปต่อว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาแสดงว่าโจทก์เพียงโกรธจำเลยที่ไม่ให้ความเป็นธรรมและแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อจำเลยไปบ้างซึ่งบุคคลทั่วไปอาจเป็นเช่นโจทก์ได้ในภาวะเช่นนั้นหาจำเป็นต้องเป็นคนเลวร้ายแต่อย่างใดไม่ข้อความดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90, 91, 251, 252, 265, 268 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158, 195, 218
การที่จะวินิจฉัยว่าคดีใดต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาฐานความผิดเป็นกระทง ๆ ไปศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดรวม 6 กระทงซึ่งแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อการกระทำของจำเลยในขั้นตอนที่ทำปลอมขึ้นซึ่งรอยตราของสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ไทยประจำกรุงเบรุต แล้วเอารอยตราปลอมนั้นไปประทับลงในหนังสือเดินทางปลอม ก็เพื่อให้หนังสือเดินทางปลอมที่จำเลยทำขึ้นมีลักษณะข้อความและรอยตราที่ประทับเหมือนของจริง เมื่อผู้ใดพบเห็นจะได้หลงเชื่อและเข้าใจว่าเป็นหนังสือเดินทางที่แท้จริงอันเป็นการปลอมหนังสือเดินทางทั้งฉบับให้สำเร็จบริบูรณ์ดังเจตนาของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทคือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 กับมาตรา 251 กระทงหนึ่งต่อมาเมื่อจำเลยนำหนังสือเดินทางนั้นไปใช้แสดง ต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อตรวจประทับตราเดินทาง ออกไปนอกราชอาณาจักรและเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรรวม 3 ครั้ง แม้จะเป็นการใช้ในลักษณะเดียวกัน แต่เป็นการใช้คนละเวลา คนละครั้งต่างกรรมกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรม คือมีความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265และมาตรา 251 ประกอบด้วย มาตรา 252 ซึ่งมาตรา 263ให้ลงโทษตามมาตรา 251 แต่กระทงเดียว เมื่อจำเลยเป็นผู้ทำรอยตราปลอมอันเป็นความผิดตามมาตรา 251และได้ใช้รอยตราปลอมนั้นอันเป็นความผิดตามมาตรา 252รวม 3 ครั้ง ในการใช้ครั้งแรก จำเลยทำรอยตราปลอมและใช้รอยตราปลอมด้วย จึงมีความผิดตามมาตรา 251ประกอบด้วยมาตรา 263 กระทงหนึ่ง แต่ในการใช้ครั้งที่สองและที่สาม จำเลยมิได้ปลอมรอยตราขึ้นอีกคงใช้รอยตราปลอม อันเก่านั้นเอง จึงมีความผิดฐานใช้รอยตราปลอมอย่างเดียว ตามมาตรา 252 อีก 2 กระทง รวมทั้งสิ้น 3 กระทง ที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยรวม 6 กระทง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 15, 30, 31, 208 ทวิ, 225 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 57 (2)
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้นมีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา30และ31เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นนอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้วการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ดังนั้นเมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้วผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วมประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา30และ31แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วดังนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้นเป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะคู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3933/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 201, 205, 243 (2)
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่ติดใจสืบพยานศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษาก่อนถึงวันนัดฟังคำพิพากษา1วันโจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่อ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณาดังนี้การพิจารณายังไม่เสร็จสิ้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา205วรรคสองให้ได้ความว่าการขาดนัดของโจทก์เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการไต่สวนแต่มีคำสั่งว่าให้โจทก์ยื่นคำร้องเข้ามาเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งและคำพิพากษาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3836/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 861, 887
จำเลยที่3รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ห้างฯดังกล่าวได้ให้จำเลยที่2เช่าซื้อรถนั้นไปในขณะเกิดเหตุห้างฯมิได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่1ที่จำเลยที่1ทำละเมิดต่อโจทก์ห้างฯหาต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นไม่จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยไว้กับห้างฯในลักษณะประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดเช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3835/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90, 264, 265, 268
จำเลยปลอมหนังสือเดินทางของประเทศสิงคโปร์และปลอมเอกสารราชการของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยประทับรอยตราและบันทึกข้อความอนุญาตให้จำเลยเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรลงในหนังสือเดินทางที่จำเลยทำปลอมขึ้นเพื่อให้มีรายการครบถ้วนจะได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและอยู่ในราชอาณาจักรได้อันเป็นการกระทำครั้งเดียวการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานปลอมเอกสารราชการของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90แต่จำเลยได้นำหนังสือเดินทางและเอกสารราชการของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่จำเลยปลอมขึ้นดังกล่าวไปใช้ด้วยจึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารราชการของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองปลอมแต่กระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา268วรรค2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3918/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 385 ประมวลกฎหมายที่ดิน ม. 9, 108 ทวิ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158 (5), 218
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย1ปีปรับ5,000บาทให้รอการลงโทษจำคุกไว้คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218 ฟ้องของโจทก์ในข้อหาบุกรุกยึดถือครอบครองทางสาธารณะอันเป็นที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้นโจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทนั้นเป็นที่ดินของรัฐได้อย่างไรและเป็นที่ดินของรัฐตั้งแต่เมื่อใดเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาคดีเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)แล้ว ที่พิพาทแม้ทางราชการจะเคยให้เอกชนเช่าอยู่3ปีก็เลิกเช่าแต่ประชาชนสัญจรไปมาในที่พิพาทตลอดมาถือได้ว่าที่พิพาทยังคงเป็นที่ดินของรัฐเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันโจทก์มีอำนาจฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา108ทวิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3892/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 83, 90, 364, 365, 392
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกและฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวโดยการขู่เข็ญคดีได้ความว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปขับไล่ให้ผู้เสียหายออกไปเสียจากขนำของผู้เสียหายครั้นผู้เสียหายขัดขืนจำเลยจึงใช้ปืนที่ติดตัวไปยิงขู่จนผู้เสียหายตกใจกลัวออกไปจากขนำการกระทำของจำเลยมีเจตนาขู่เข็ญเพื่อขับไล่ผู้เสียหายให้ออกไปจากขนำเป็นข้อสำคัญจึงเป็นความผิดกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท.