คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2543
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2543
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 292
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากสถานที่เช่าคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย การที่จำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์และจำเลยต่างถูกบริษัท ต. เจ้าของที่พิพาทฟ้องขับไล่ออกจากที่พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลย การบังคับคดีนี้ย่อมไร้ผล จึงเป็นเรื่องขอให้งดการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของศาลที่จะสั่งตามสมควรแก่รูปคดี
จำเลยได้ใช้วิธีการต่าง ๆ ในเชิงคดีที่จะประวิงการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้เนิ่นช้าตลอดมา โดยเฉพาะในคดีที่บริษัท ต. ฟ้องขับไล่โจทก์ เป็นเรื่องระหว่างบริษัท ต. กับโจทก์ ไม่กระทบสิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ในคดีนี้ ส่วนการที่จำเลยได้ยื่นข้อเสนอขอทำสัญญาเช่าที่พิพาท และเสนอผลประโยชน์แก่บริษัท ต. เป็นข้ออ้างของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าบริษัท ต. ได้ตกลงยินยอมด้วย และแม้ข้อเสนอหรือข้อตกลงกับบริษัท ต. หากจะพึงมี ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยไม่อาจยกขึ้นใช้ยันโจทก์ในชั้นนี้ได้ ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุที่จะยกขึ้นอ้างเพื่องดการบังคับคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2543
nan
++ เรื่อง ข่มขืนกระทำชำเรา ความผิดต่อเสรีภาพ ลหุโทษ ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดรวม 5 กรรม สำหรับฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 เป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะไม่ได้ยิงปืนตามฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน และศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยให้แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเมื่อเป็นเช่นนี้คดีมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา310 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นฟังว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดแต่ละกระทงศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีโดยไม่มีโทษปรับ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ไม่ได้กระทำการข่มขืนใจผู้เสียหาย และไม่ได้กระทำการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า จำเลยได้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายหรือไม่
++ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มีนางสาวสลิตตา อุตมะยาน ผู้เสียหายเบิกความว่า จำเลยไปรับตัวผู้เสียหายจากบ้านผู้เสียหายและขึ้นรถยนต์ของจำเลยไปด้วยกันโดยจำเลยเป็นคนขับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2538 เวลาประมาณ 11 นาฬิกาโดยจำเลยพาผู้เสียหายไปรับประทานอาหารจนกระทั่ง 18 นาฬิกา จำเลยจะพาผู้เสียหายเข้าเมืองสกลนครเพื่อจะไปร้องเพลง ผู้เสียหายให้จำเลยพากลับบ้าน จำเลยไม่ยอมและจำเลยได้พูดขู่ว่าถ้าผู้เสียหายคิดหนีจะยิง พร้อมกับเปิดลิ้นชักเก็บของหน้ารถยนต์ของจำเลยให้ผู้เสียหายดูอาวุธปืนที่เก็บไว้ในลิ้นชักเก็บของ ผู้เสียหายถือโอกาสที่จำเลยเผลอได้เอาอาวุธปืนของจำเลยซ่อนไว้ใต้เบาะรถยนต์ที่ผู้เสียหายนั่งอยู่ และผู้เสียหายขอให้จำเลยหยุดรถยนต์เพื่อขอไปปัสสาวะ เมื่อจำเลยหยุดรถยนต์ ผู้เสียหายเปิดประตูรถยนต์วิ่งย้อนกลับไปทางเดิม และพยายามโบกรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาขอให้ช่วยเหลือขณะที่มีรถยนต์คันอื่นหยุด ผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ ประจวบกับจำเลยตามมาทันถามผู้เสียหายเรื่องอาวุธปืน คนขับรถยนต์ที่หยุดตามที่ผู้เสียหายโบกได้ยินคำว่าปืนก็ขับรถยนต์แล่นออกไป ต่อจากนั้นจำเลยได้ฉุดผู้เสียหายขึ้นนั่งบนรถยนต์ของจำเลยพร้อมพูดขู่ว่าถ้าคิดหนีจะยิงให้ตาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะยิง จำเลยขับรถยนต์พาผู้เสียหายเข้าไปบริเวณสวนหย่อมซึ่งอยู่ข้างถนนเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ซึ่งบริเวณนั้นมืด จำเลยใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายให้ถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอด จำเลยจึงยิงปืนไปทางต้นไม้ 1 นัดหลังจากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ที่ศีรษะของผู้เสียหาย จนผู้เสียหายกลัวนั่งทรุดลงกับพื้น จำเลยจึงเข้าไปถอดกางเกงของผู้เสียหายออกทั้งกางเกงนอกและใน พร้อมกับดึงเสื้อชั้นในของผู้เสียหายออก ต่อจากนั้นจำเลยได้ถอดเสื้อผ้าจำเลยออกแล้วขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นไปนั่งบนเบาะรถยนต์ของจำเลย แล้วให้ผู้เสียหายนอนลง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าอวัยวะเพศของผู้เสียหาย แล้วจำเลยได้ชักอวัยวะเพศของจำเลยเข้าออกในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายรู้สึกเจ็บจึงผลักจำเลยออก และผู้เสียหายรู้สึกว่ามีน้ำลื่น ๆ ไหลออกจากอวัยวะเพศของผู้เสียหาย จำเลยลุกขึ้นไปสวมใส่เสื้อผ้า และผู้เสียหายก็จัดการสวมใส่เสื้อเช่นเดียวกัน จำเลยพาผู้เสียหายไปที่อำเภอกุสุมาลย์และพาไปซื้อน้ำดื่ม จำเลยทราบว่าสร้อยข้อมือของจำเลยหายไปในขณะเกิดเหตุจึงขับรถยนต์ย้อนกลับไปค้นหาพบแต่สร้อยข้อมือแต่ตะขอทองคำหาไม่พบ และพาผู้เสียหายเข้าพักโรงแรม ในห้องพักโรงแรมจำเลยจะะข่มขืนผู้เสียหายอีกแต่ผู้เสียหายไม่ยอมและขู่ว่าถ้าข่มขืนจะร้องให้คนช่วย ต่อจากนั้นจำเลยได้พาผู้เสียหายไปส่งที่อำเภอพังโคนในเวลาประมาณ 2 นาฬิกาของวันใหม่ ผู้เสียหายต้องขอร้องให้เพื่อนผู้หญิงที่ขายของอยู่ที่ตลาดอำเภอพังโคนพากลับไปส่งบ้าน เมื่อกลับถึงบ้านผู้เสียหายได้เล่าให้นางจงรักษ์ อุตมะยานซึ่งเป็นมารดาฟังทันที และพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และโจทก์มีนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหายเบิกความสนับสนุนว่า ผู้เสียหายไปกับจำเลยในวันที่ 30 มกราคม 2538 และกลับบ้านตอนประมาณ 4 ถึง 5 นาฬิกา ของวันที่ 31 มกราคม 2538 โดยมีเพื่อนผู้หญิงของผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์มาส่ง ผู้เสียหายกลับถึงบ้านได้ร้องไห้ เมื่อสอบถามแล้วได้ความว่าจำเลยใช้อาวุธปืนบังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย นางจงรักษ์ทราบเหตุจากผู้เสียหายแล้วได้ไปหาแม่ภรรยาของจำเลยโดยได้พบนางศรีประไพภรรยาของจำเลยด้วย จึงเล่าเรื่องให้ฟัง นางศรีประไพบอกว่าให้นางจงรักษ์รออยู่ก่อนจะไปติดตามตัวจำเลยมาสอบถาม จึงได้รออยู่จนกระทั่งเที่ยงนางศรีประไพแจ้งว่าติดต่อจำเลยได้แล้ว ขออย่าเพิ่งไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลย นางจงรักษ์ได้ติดต่อกับพันตำรวจโทประสาร สุระเสียงแจ้งเหตุให้ทราบด้วย และได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจในวันที่31 มกราคม 2538 และโจทก์มีพลตำรวจสำรองทองพูน ภูผิวเงินเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 ได้ร่วมไปตรวจสถานที่เกิดเหตุบริเวณสวนหย่อมริมถนนสายสกลนคร - นครพนม ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวพบปลอกกระสุนปืน ขนาด .38 จำนวน1 ปลอก ยางรัดผม 1 เส้น ตะขอทองคำ 1 อัน เงินเหรียญบาท 2 เหรียญผ้าเย็นที่ใช้แล้ว 1 ผืน ผ้าอนามัย 1 อัน และโจทก์มีพันตำรวจโทประสารสุระเสียง เบิกความว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2538 เวลาประมาณ8 นาฬิกา ได้รับโทรศัพท์จากนางจงรักษ์ซึ่งเป็นน้องภรรยาของพันตำรวจโทประสาร เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในคดีนี้ให้ฟัง ผู้เสียหายกับนางจงรักษ์ต่างก็รู้จักจำเลยเป็นอย่างดี จึงไม่มีเหตุที่จะระแวงสงสัยว่าจะจำคนผิด ประกอบกับจำเลยรับว่าได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุจริงเพียงแต่อ้างว่าผู้เสียหายสมยอมเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติได้ว่า จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ คงมีปัญาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนข่มขู่จนผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำชำเราหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยได้ยิงปืนในบริเวณเกิดเหตุในเวลาเกิดเหตุ หากผู้เสียหายเป็นใจยินยอมร่วมประเวณีกับจำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่จำเลยจะต้องยิงปืนในขณะจะได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย เป็นการเจือสมกับคำเบิกความของผู้เสียหายว่าจำเลยยิงปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายจำต้องยอมให้จำเลยกระทำชำเราประกอบกับผู้เสียหายได้แจ้งเหตุว่าถูกจำเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่บังคับข่มขืนกระทำชำเราในทันทีที่พบกับนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหาย หากผู้เสียหายสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลย คงไม่หาเหตุกล่าวหากลั่นแกล้งจำเลย และนางจงรักษ์ได้แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นต่อพันตำรวจโทประสารญาติของนางจงรักษ์ในตอนเช้าวันเกิดเหตุ และได้ไปแจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวนในวันเดียวกันและเจ้าพนักงานตำรวจได้พากันออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ และพบของกลางในบริเวณเกิดเหตุซึ่งสมจริงตามคำเบิกความของผู้เสียหาย แสดงว่าผู้เสียหายบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เพราะมิฉะนั้นคงจะตรวจไม่พบของกลางโดยเฉพาะตะขอสร้อยข้อมือของจำเลยตกในบริเวณที่เกิดเหตุ แม้จะปรากฏว่าก่อนที่นางจงรักษ์จะไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ได้มีการเจรจาต่อรองค่าเสียหายกับฝ่ายจำเลยอยู่บ้าง อาจจะเป็นเพราะว่าฝ่ายผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ถ้าได้รับการชดใช้บรรเทาผลร้ายบ้างน่าจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายผู้เสียหาย การเจรจาต่อรองค่าเสียหาย จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ไม่เป็นพิรุธแต่ประการใด การที่นางจงรักษ์พาผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในตอนเย็นวันที่ 31 มกราคม2538 จึงไม่ทำให้น้ำหนักของพยานส่วนนี้เสียไปแต่ประการใด
++ พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบ จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่าจำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่บังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปัญหานี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ++
++ อนึ่ง ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยข่มขืนใจให้ผู้เสียหายกระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายก็เพื่อมุ่งประสงค์ที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความประสงค์มาแต่แรกแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดตอน การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง ของจำเลย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
++ และศาลฎีกาเห็นว่าตามทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้จำเลยนั้น ไม่เหมาะสม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข และให้มีผลไปถึงข้อหาพรากผู้เยาว์ และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองด้วย ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คงให้บังคับคดีในกระทงความผิดนี้ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง นั้นการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 276 วรรคสอง อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 15 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปีส่วนข้อหาพรากผู้เยาว์และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ เมื่อลดโทษแล้วคงจำคุก 1 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท ตามลำดับ เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นโทษจำคุก 11 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739 - 740/2543
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 11, 156, 171 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ม. 17 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ม. 4, 17
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อฟิล์มภาพยนตร์จากโจทก์ร่วม และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ตามสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์มีข้อความว่า ข้อ 1. ผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในเขต 8 จังหวัด และกากฟิล์มชานเมืองขนาด 35 มม. ชื่อภาษาไทย เรื่อง ข้อ 2. ระบุว่า ผู้ขายกับผู้ซื้อตกลงซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์ตามข้อ 1 โดยผู้ขายจะส่งฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้วตามจำนวนที่ตกลงกันข้อ 3. ระบุว่า ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะนำภาพยนตร์ออกทำการฉายได้ในเขตสาย 8 จังหวัดและชานเมืองเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด ดังนี้ ข้อ 6. ผู้ซื้อมีสิทธิในการนำฟิล์มภาพยนตร์ที่ซื้อออกจำหน่าย ให้เช่า ให้ยืม ทำการฉายแพร่ภาพในเขตของผู้ซื้อที่ระบุไว้ใน ข้อ 3. มีกำหนดระยะเวลาในการครอบครองสิทธิเป็นเวลา 12 เดือนนับจากวันทำสัญญาที่ผู้ขายมีต่อผู้สร้างสรรค์เดิมที่ผู้ขายซื้อมา ฯลฯตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ซื้อผลงานจากผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมีเงื่อนไขการให้นำไปฉายในสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ตกลงกับเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์อนุญาตให้โจทก์ร่วมใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามสัญญาเท่านั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่ การที่โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์ให้ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท แล้วขายต่อให้จำเลยจึงหมายถึงการขายฟิล์มภาพยนตร์ทั้ง 12 เรื่องเพื่อให้จำเลยนำไปฉายในจังหวัดต่าง ๆ ในเขตที่กำหนดและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 6 กรณีจึงมิใช่ผู้สร้างสรรค์อันเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โอนลิขสิทธิ์ของตนให้แก่บุคคลอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนอันจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 17 วรรคสาม จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีอำนาจโอนขายลิขสิทธิ์ฟิล์มภาพยนตร์ และจำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 156 ไม่ได้เมื่อสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์มีผลใช้บังคับกันได้ และโจทก์ร่วมส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยออกเช็คชำระหนี้ค่าฟิล์มภาพยนตร์แก่โจทก์ จึงเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2543
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 11, 156, 171 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ม. 17 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ม. 4, 17
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อฟิล์มภาพยนตร์จากโจทก์ร่วม และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ตามสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์มีข้อความว่า ข้อ 1. ผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในเขต 8 จังหวัด และกากฟิล์มชานเมืองขนาด 35 มม. ชื่อภาษาไทย เรื่อง… ข้อ 2. ระบุว่า ผู้ขายกับผู้ซื้อตกลงซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์ตามข้อ 1 โดยผู้ขายจะส่งฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้วตามจำนวนที่ตกลงกันข้อ 3. ระบุว่า ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะนำภาพยนตร์ออกทำการฉายได้ในเขตสาย 8 จังหวัดและชานเมืองเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด ดังนี้… ข้อ 6. ผู้ซื้อมีสิทธิในการนำฟิล์มภาพยนตร์ที่ซื้อออกจำหน่าย ให้เช่า ให้ยืม ทำการฉายแพร่ภาพในเขตของผู้ซื้อที่ระบุไว้ใน ข้อ 3. มีกำหนดระยะเวลาในการครอบครองสิทธิเป็นเวลา 12เดือน นับจากวันทำสัญญาที่ผู้ขายมีต่อผู้สร้างสรรค์เดิมที่ผู้ขายซื้อมา ฯลฯ ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ซื้อผลงานจากผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมีเงื่อนไขการให้นำไปฉายในสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ตกลงกับเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์อนุญาตให้โจทก์ร่วมใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามสัญญาเท่านั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่ การที่โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์ให้ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท แล้วขายต่อให้จำเลยจึงหมายถึงการขายฟิล์มภาพยนตร์ทั้ง 12 เรื่อง เพื่อให้จำเลยนำไปฉายในจังหวัดต่าง ๆในเขตที่กำหนดและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 6 กรณีจึงมิใช่ผู้สร้างสรรค์อันเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โอนลิขสิทธิ์ของตนให้แก่บุคคลอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนอันจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 17 วรรคสาม จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีอำนาจโอนขายลิขสิทธิ์ฟิล์มภาพยนตร์ และจำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมตามป.พ.พ.มาตรา 156 ไม่ได้ เมื่อสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์มีผลใช้บังคับกันได้ และโจทก์ร่วมส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยออกเช็คชำระหนี้ค่าฟิล์มภาพยนตร์แก่โจทก์ จึงเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 140
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น การที่คู่ความมาศาลหมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งเจ้าพนักงานศาล เพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่า มีคู่ความมาศาลหรือไม่ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยแสดงตัวต่อศาลการที่ศาลอ่านคำพิพากษาให้เสมียนทนายโจทก์ฟัง ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบจำเลยแสดงตนเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว ศาลอาจให้จำเลยรับทราบการอ่านโดยไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2543
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 379, 383
ประกาศของธนาคารโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกโดยอาศัยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดมีข้อความระบุชัดว่า ธนาคารโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 24ต่อปี สำหรับลูกหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในส่วนที่เกินวงเงินหรือเบิกเงินเกินบัญชีชั่วคราวหรือในกรณีที่ลูกหนี้ประพฤติผิดสัญญากู้เงินแล้วต่อมามีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็นร้อยละ 25 ต่อปี แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 หรือร้อยละ 25 ต่อปี เฉพาะกรณีที่เป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือกรณีที่ลูกหนี้ประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญากู้เงินหาใช่เป็นเรื่องโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นหรือลดลงตามภาวะเศรษฐกิจตามที่ระบุในสัญญากู้เงินไม่ ข้อกำหนดที่ให้โจทก์เรียกเอาดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 24 หรือร้อยละ 25 ต่อปีเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญากู้เงินย่อมเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ แต่ที่ศาลชั้นต้นลดจากร้อยละ 25 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 19 ต่อปีเท่ากับอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จำเลยผิดนัดมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับโดยสิ้นเชิงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2543
พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ม. 6, 34
บทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการที่ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกให้เช่า จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2543
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 227 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 ม. 15, 26, 67, 76
พยานโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานตำรวจต่างไม่รู้เห็นขณะจำเลยครอบครองกัญชา จึงเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งจำต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบให้หนักแน่นมั่นคง การที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน แต่ข้อความในบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาปรากฏว่าจำเลยให้การภาคเสธ โดยรับว่าจำหน่ายกัญชาเท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงว่าจำเลยครอบครองกัญชาทั้ง 30 ซองไว้เพื่อจำหน่าย คำรับว่าจำหน่ายกัญชาย่อมมีความหมายสมบูรณ์อยู่ในตัวว่าจำเลยได้ทำการจำหน่ายกัญชาเท่านั้น ที่โจทก์นำสืบขยายความให้รวมไปถึงการมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชาจำนวน 30 ซอง ที่ค้นพบในกระเป๋าเสื้อของ ส. ที่แขวนไว้ในครัวด้วยย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลย เพราะจำเลยให้การไว้อย่างชัดเจนว่า กัญชาทั้ง 30 ซองนั้นเป็นของ ส. ทั้งคำให้การจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนก็มิใช่หลักฐานแสดงว่าจำเลยรับสารภาพโดยสมัครใจแต่กลับแสดงว่าจำเลยให้การปฏิเสธข้อหาของเจ้าพนักงานตำรวจตลอดมาระหว่างการตรวจค้นบ้านเจ้าพนักงานตำรวจยังมิได้แจ้งข้อกล่าวหาและจับกุมจำเลย จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะผู้ต้องหา เจ้าพนักงานตำรวจจะนำคำพูดใด ๆของจำเลย ก่อนตกเป็นผู้ต้องหามาใช้ให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยในภายหลังย่อมเป็นการมิชอบด้วยมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสอบสวน เมื่อจำเลยนำสืบปฏิเสธข้อกล่าวหาของโจทก์เป็นลำดับมา พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีเพียงคำบอกเล่าของผู้จับกุมไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2543
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 54
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่า เมื่อวันที่ 11มิถุนายน 2539 โจทก์สมัครเข้าทำงานกับบริษัทบางกอกโมเดอร์นแกรนิต จำกัดและบริษัทดังกล่าวส่งโจทก์มาทำงานกับจำเลยด้วยความยินยอมของโจทก์และจำเลยโจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่นั้นมาและทำงานกับจำเลยถึงวันที่ 7 กันยายน2541 แล้วถูกจำเลยเลิกจ้าง สำหรับอุทธรณ์ของจำเลยศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าให้รับอุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยอย่างร้ายแรงหรือไม่ แต่เมื่อตรวจดูอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวเช่นนั้น กลับอุทธรณ์ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของบริษัทบางกอกโมเดอร์นแกรนิต จำกัด อย่างร้ายแรงหรือไม่ ดังนี้ เห็นว่าเมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทบางกอกโมเดอร์นแกรนิต จำกัด และถูกจำเลยเลิกจ้างไม่ใช่ถูกบริษัทดังกล่าวเลิกจ้าง ความรับผิดของจำเลยที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้แก่โจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิมต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่ศาลแรงงานกลางสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย.(หัสดี ไกรทองสุก - สละ เทศรำพรรณ - จรัส พวงมณี)พัชรินทร์ พิมพ์/ทาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2543
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 877
แม้โจทก์ละเลยมิได้ติดตั้งอุปกรณ์จำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้าหรือใช้หม้อแปลงให้กระแสไฟฟ้ามีแรงดันไม่เกิน 220 โวลต์ ก่อนเข้าสู่ป้ายโฆษณาของโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยอมเสี่ยงภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ไม่อาจเรียกร้องความรับผิดจากผู้ใดได้ เช่น ฟ้าผ่า หรือสายไฟฟ้าแรงสูงขาดตกลงมาพาดทับป้ายโฆษณาของโจทก์โดยอุบัติเหตุ แต่ในกรณีนี้ความเสียหายจะไม่เกิดแก่โจทก์แม้ปราศจากอุปกรณ์ดังกล่าว ถ้าจำเลยมิได้กระทำด้วยความประมาทโดยการทำให้ท่อส่งปูนซิเมนต์สู่ที่สูงพาดถูกสายไฟฟ้าแรงสูงขาดตกลงมาถูกสายไฟฟ้าแรงต่ำเป็นเหตุให้สายไฟฟ้าแรงต่ำเพิ่มแรงดันมากขึ้นทำให้ป้ายโฆษณาของโจทก์เสียหายความประมาทของจำเลยจึงเป็นผลโดยตรงต่อความเสียหายของโจทก์
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยกับจำเลยซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย ปรากฏตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า ผู้เอาประกันภัยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุการใช้รถยนต์ระหว่างระยะเวลาประกันภัยโดยระบุว่าไม่คุ้มครองตัวเครนและอุบัติเหตุจากตัวเครน ดังนี้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยร่วมจำกัดความรับผิดในการประกันภัยเฉพาะความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์เท่านั้น จำเลยร่วมรู้อยู่แล้วว่ารถยนต์ที่เอาประกันภัยจะนำไปติดตั้งเครนจึงระบุข้อจำกัดความรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดจากตัวเครนไว้โดยชัดแจ้งเมื่อความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นจากตัวเครนหาใช่รถยนต์ที่รับประกันภัยไว้จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิด