กฎหมายฎีกา ปี 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2541
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1207
โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร.ข้อบังคับของบริษัทร. ระบุว่าการประชุมกรรมการต้องมีคณะกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมปรึกษากิจการได้แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า บริษัท ร. มีกรรมการรวม4 คน การปรึกษากิจการระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2จึงครบเป็นองค์ประชุมตามข้อบังคับของบริษัทแล้ว จำเลยหาได้ให้การต่อสู้คดีว่ามีการเรียกประชุมไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า มีการนัดเรียกหรือประชุมกรรมการก่อนจึงรับฟังไม่ได้ดังนั้น เมื่อการนัดเรียกในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นฝ่าฝืนต่อข้อบังคับของบริษัทและฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้วการประชุมดังกล่าวจึงเป็นการประชุมไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5545/2541
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177 วรรคสาม
จำเลยให้การว่า หนังสือสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่จำเลยลงลายมือชื่อโดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความโจทก์หรือตัวแทนโจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นเอกสารปลอมขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งบังคับโจทก์คืนเอกสารดังกล่าวแก่จำเลย หากไม่คืนขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งทำลายเอกสารดังกล่าวโดยถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน ซึ่งหากพิจารณา ได้ความตามคำให้การจำเลยดังกล่าว ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง จำเลยย่อมได้รับผลตามคำพิพากษาอยู่แล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็น ที่จำเลยจะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนเอกสารหรือทำลายเอกสาร ดังกล่าวอีก จึงชอบที่ศาลจะไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2541
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1382 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 28, 150, 188, 248
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 3 แปลงมาโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าการเข้าครอบครองที่ดิน ดังกล่าวครอบครองแทน พ. กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำร้องขอ เป็นคดีมีทุนทรัพย์และศาลจะต้องแยกพิจารณาที่ดินแต่ละแปลงออกต่างหากจากกันเป็นรายแปลงว่าเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างหรือเป็นดังที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านทุนทรัพย์จึงต้องแยกออกเฉพาะที่ดินแต่ละแปลง เมื่อปรากฏว่าที่ดินทั้งสามแปลงมี ราคาแปลงละไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นคดีที่ราคา ทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของที่ดิน แต่ละแปลงไม่เกินสองแสนบาท อันต้องห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2541
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 39 (4), 226 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145 พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ม. 5, 54
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ (ชนิดใช้สารกรอง) อันเป็นผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตร จำเลยที่ 1 ได้เคย ฟ้องโจทก์ร่วมเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ฉบับเดียวกันนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยวินิจฉัยว่าการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ ขึ้นใหม่ซึ่งต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว คำว่า งานที่ปรากฏ อยู่แล้วมีอยู่หลายกรณีด้วยกันคือมีการจดสิทธิบัตรไว้แล้ว เป็นงานที่ใช้หรือแพร่หลายอยู่แล้วก่อนยื่นคำขอ หรือเป็นงานที่ เปิดเผยต่อสาธารณชนโฆษณาในสิ่งพิมพ์ หากสิ่งประดิษฐ์ใด มีลักษณะ 3 ประการที่กล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่ ก่อนหน้าที่โจทก์ร่วมจะไปขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องกรองน้ำ ที่พิพาท เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมได้มี แพร่หลายอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า การประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมแตกต่าง จากการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายอยู่ก่อนนั้นอย่างไร กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าการประดิษฐ์เครื่อง กรอง น้ำ ของ โจทก์ร่วม เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งเข้ากฎเกณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่พิพาทของโจทก์ร่วมอันมีวิธีการทำงานโดยการปล่อยให้น้ำไหล จากท่อน้ำในถังกรองที่ 1 ผ่านสารกรองต่าง ๆ ที่ใส่ไว้ เป็นชั้น ๆ โดยน้ำจากสารกรองชั้นสุดท้ายจะไหลผ่านท่อน้ำ รูปตัวแอลไปสู่ด้านบนของถังกรองที่ 2 แล้วไหลผ่านสารกรองในถังกรองที่ 2 ที่จัดเรียงเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นสุดท้ายหลังจากนั้นน้ำจะไหลออกจากปลายท่อซึ่งมีก๊อกสำหรับเปิดน้ำใช้ ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นหลักการทำงานที่อาศัยหลักของแรงดันน้ำ ขับดันให้น้ำไหลไปตามท่อที่วางไว้ภายในถังกรอง ประกอบกับ หลักการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านสารกรอง ด้านบนสุดไปยังสารกรองที่อยู่ด้านล่างสุด อันเป็นหลักการอย่างธรรมดาสามัญที่บุคคลทั่ว ๆ ไปย่อมทราบดีอยู่แล้ว คดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1ได้พิพาทกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เดียวกันกับในคดีนี้ โดยศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นวินิจฉัยไว้ว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 นั้นไม่สมบูรณ์แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งจะผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าว เฉพาะในทางแพ่งก็ตาม แต่ศาลย่อมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว มาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของคู่ความในคดีอาญาได้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 ของโจทก์ร่วมมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เมื่อสิทธิบัตร การประดิษฐ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ การกระทำของ จำเลยทั้งสองในการผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ ตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6175/2541
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 898, 900 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ม. 4
แม้การที่จำเลยทั้งสองเอาเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์ การออกเช็คของจำเลยดังกล่าวจะมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อ ชำระหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อ ไม่มีการชำระเงินตามเช็คที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่าย ย่อมเกิด เป็นหนี้ระหว่างจำเลยทั้งสองกับโจทก์ตามจำนวนเงินที่ระบุ ในเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 898,900 ซึ่งในกรณีนี้หากจำเลยทั้งสองออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ ตามเช็คเดิมที่จำเลยทั้งสองออกให้แก่โจทก์ดังกล่าว เช็คที่ จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2541
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 224
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224กำหนดว่าในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 105,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเพียงห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ย และโจทก์มิได้อุทธรณ์ถือว่าโจทก์พอใจตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวว่าไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเท่ากับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระคือห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้นและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จก็จะนำมาคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2541
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1336, 1599, 1711, 1713
ศ.ภริยาของช. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้องและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของศ.ส่วนผู้คัดค้านมิใช่บุตรของศ.มิใช่ทายาทโดยธรรมและไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ช.และศ.ในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ศ. ทั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ซึ่งมีทรัพย์สิน ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมกับช.ในที่ดินโฉนดเลขที่13566เมื่อศ. ถึงแก่กรรม ที่ดินส่วนที่ศ. มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวและถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกของช. ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของช. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2541
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1174
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "การประชุมวิสามัญ ให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมวิสามัญได้โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 26 ซึ่งมีข้อความว่า "การใด ๆ อันเกี่ยวกับการที่จะต้องปฏิบัติในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ ฯลฯ ก็ให้ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด" กล่าวคือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1174 วรรคสอง เมื่อคณะกรรมการบริษัทไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นร้องขอภายใน 30 วันผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นจึงเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเองได้ การประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2541
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 179
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า สัญญาเช่าเลิกกันดังที่ระบุไว้ในสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่อยู่ในห้องเช่าพิพาทอีกต่อไป ดังนี้การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์จงใจหรือกลั่นแกล้งจำเลยให้ได้รับความเดือดร้อน โดยไม่ให้ความร่วมมือเซ็นเอกสารต่างๆที่จำเลยต้องนำไปใช้ในการจดทะเบียนประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ยินยอมมอบตราประทับสำหรับจอดรถฟรีของลูกค้าให้แก่จำเลย ทำให้ได้รับความเสียหาย อันเป็นเรื่องละเมิด ทั้งข้ออ้างของจำเลยมิได้มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าประการใด จึงไม่เป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2541
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142, 290
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองโดยขอให้ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองโดยปลอดจำนองแล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องแต่ผู้ร้องคิดคำนวณหนี้เพียงวันที่ 30 มกราคม 2524โดยไม่ได้คิดคำนวณหนี้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2524 อันเป็นวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง เห็นเจตนาได้ว่าผู้ร้องประสงค์จะให้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องคำนวณมาในคำร้องเท่านั้นเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยก็ได้วางเงินจำนวนดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เมื่อผู้ร้องมิได้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงวันที่ 8 เมษายน 2524 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้อง และไม่ได้เรียกดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้องจนถึงวันขายทอดตลาดมาในคำร้องกรณีเช่นนี้ ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ เพราะเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง